|
[หน้าแรก] [เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล] [ ภาษาสมัยพุทธกาล][ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/พงศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] |
|
|
หลังจากอ่านหน้านี้แล้ว
ท่านเห็นด้วยกับข้อมูลหรือไม่โปรดโหวตและดูผลการสำรวจ
คลิ้ก ที่ POLLBAGEL โหวตภาษาไทย
โดยรวม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า
พระพุทธอุบัติภูมิไม่ได้อยู่ในอินเดียหรือเนปาล แต่อยู่ในสุวรรณภูมิ คือ ไทย
ลาว เขมร พม่า และมอญ?
Webmaster:
chaiyongusc@gmail.com
|
ความสงสัยในฐานะชาวพุทธต่อข้ออ้างที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นแขกเกิดในอินเดียหรือเนปาล ในฐานะเป็นชาวพุทธ มีข้อสงสัย ประการ ๑๐ คือ ประการที่ ๑ เจ้าชายสุทโธทนและเจ้าหญิงสิริมหามายา ทรงอภิเษกสมรสแบบ "วิวาหมงคล" คือฝ่ายชายไปสู่ขอฝ่ายหญิง มิใช่ "อาวาหมงคล" ที่ฝ่ายหญิงไปสู่ขอฝ่ายชายตามประเพณีอินเดีย ประการที่ ๒ หลวงพ่อปุณณเถระ เมื่อท่านปรินิพพาน ญาติโยมท่านจัดการงานศพอย่างไร ข้อ ก. เผาเก็นกระดูก สร้างเจดีย์เก็บไว้ที่วัด บางส่วนใส่โกษบ์นำกลับมาบูชาที่บ้าน หรือ ข้อ ข. เผาแล้วโยนศพลงแม่น้ำเพื่อล้าตามล้างบาป คำตอบคือ ข้อ ก. แบบไทย ไม่ใช่ ข้อ ข. แบบอินเดีย ประการที่ ๓ ทำไมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปรากฎในพระไตรปิฎก จึงตรงกับของชาวไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ เช่น แกงอ่อม โดยเฉพาะแกงอ่อมปลาดุก ใบย่านาง และพืช ๒๖๔ ชนิดจึงเป็นพืชที่พบเห็นในเมืองไทย ฐาน (ส่มในวัด) จึงตรงกับมี่ปรากฎในภาคอิสาน ฯลฯ ประการที่ ๔ ทำไมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปรากฎในพระไตรปิฎก จึงตรงกับของชาวไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ เช่น แกงอ่อม โดยเฉพาะแกงอ่อมปลาดุก ใบย่านาง และพืช ๒๖๔ ชนิดจึงเป็นพืชที่พบเห็นในเมืองไทย ฐาน (ส่มในวัด) จึงตรงกับมี่ปรากฎในภาคอิสาน ฯลฯ*** ประการที่ ๕ ภาษาอิสานภาษาเหนือและภาษาบาลี มีการใช้ควบคู่กัน เช่น แก่นสาร คุณประโยชน์ จิตใจ ฯลฯ และมีลีลาเหมือนกัน ประการที่ ๖ ทำไมระยะทางและทิศทางระหว่างเมืองตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกตรงกับระยะทางและทิศทางระหว่างเมืองในประเทศไทย ไม่ตรงกับระยะทางและทิศทางระหว่างเมืองในอินเดีย เช่น สาวัตถึห่างจากเมืองสาเกต (จังหวัดร้อยเอ็ด) ๗ โยชน์ สาเกตห่างจากโกสัมพี ๖ โยชน์ และโกสัมพีห่างจากสาวัตถึ ๓ โยขน์ ประการที่ ๗ ทำไมมีเมืองราชครฤห์ในประเทศไทย คือ นครไทยเทศ ที่กษัตริยพระองค์หนึ่งชื้อ เทวกาล ทรงอนุญาตให้โอรสองค์สุดท้องชื้อเจ้าชายสิงหนวัติกุมาร พร้อมด้วยบริวารหนึ่งแสนครอบคัว เดินทางปฃปทิศอาคเนย์คือตะวันออกเฉียงเหนือและสร้างเมืองใหม่คือ นาคพันธสิงหนวัติโยนกเชียงแสน คือ เชียงรายในปัจจุบัน นครไทยเทศ หรือเชียงใหม่มีภูเขาล้อมรอบ ๕ ลูก และที่ซ้ำชื่อกัน ๑ ลูก คือ เวภารบรรบตที่อำเภอแม่ริม ที่ตั้งพระพุทธบาทสี่รอย และเป็นที่ปฐมสังคายนาพระไตรปิฎกที่สัตตบรรณคูหา คือถ้ำเชียงดาว ประการที่ ๘ ทำไมช่างสิบหมู่ มีเฉพาะในไทย ลาว เขมร พม่า มอญ ไม่มีในอินเดีย พุทธศิลป์และพุทธสถาปัตยกรรมในไทยจึงประณีต ส่วนในอินเดียหบาบกระด้าง ประการที่ ๙ ภูมิศาสตร์และภูมิประเทศตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎกตรงกับประเทศไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ ตั้งอยู่ในเขตมรสุม มี ๓ ฤดู โดยเฉพาะช่วงเข้าพรรษาที่ฝนตกชุก แต่เนปาล และตักกิสาของแขกตั้งอยู่ในแถบหนาว มีสี่ฤดู จึงไม่ควรมีปราสาทสามฤดู เมืองพาราณสีทางใต้ติดปราจิณปุระ แต่เมืองบานาเรสของอินเดีย ไม่มีเมืองปราจีณปุระ ประการที่ ๑๐ ทำไมพงศาวดารและตำนานไทย จึงบรรจุเรื่องราวของพระพุทธเจ้าทั้งองค์ปฐม คือ พระพุทธชินราช และในภัทรกัปป์ มีบันทึกเกี่ยวกับพระพุทธกกุสันโะ พระพุทธโกนาคม พระพุทธกัสสปะ และพระพุทธโคดม โครงการวิจัย "พระพุทธอุบัติภูมิ" โปรดคลิก |
ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (อดีตพระอภิญญาโณภิกขุ วัดป่ากุง จังหวัดร้อยเอ็ดของหลวงปู่ศรี) ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ หนึ่งในกลุ่มผู้นำการฟื้นคติเกี่ยวกับพุทธอุบัติภูมิ
|
จารึกวัดศรีชุมแสดงว่า ปาตาลีบุตรและแม่น้ำอโนมานทีอยู่ห่างจากสุโขทัยเพียง ๒-๓ คืน พระเจ้าอโศกแห่งอินเดีย (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๖๙ หลังสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๕ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๓๐๑) เป็นคนละองค์กับพระเจ้าอโศกไทย (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๕๙) เสาหินพระเจ้าอโศกอินเดียไม่ได้กล่าวถึงการสังคายนาพระไตรปิฎก การเดินทางสู่สุวัณณภูมิของคณะสงฆ์จีน (พระถังซัมจั๋งและสมณะงี่เจ็ง)
|
Webmaster: chaiyong@buddhabirthplace.com; chaiyongusc@gmail.com