|
[หน้าแรก] [เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล] [ ภาษาสมัยพุทธกาล][ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/พงศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] |
|
|
ผู้เข้าอ่านตั้งแต่เมษายน 2022
หลังจากอ่านหน้านี้แล้ว
ท่านเห็นด้วยกับข้อมูลหรือไม่โปรดโหวตและดูผลการสำรวจ
คลิ้ก ที่ POLLBAGEL โหวตภาษาไทย
Webmaster:
chaiyongusc@gmail.com
|
ภาษาบาลีอยู่ในประเทศไทย และแคว้นมคธก็อยู่ในประเทศไทย ภาษามคธ เป็นภาษาของชนชาติไทยโบราณ เนื่องจากเป็นภาษาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเรียกว่า บาลี ซึ่งแปลว่า คำสอน ภาษามคธจึงนิยมเรียกว่า ภาษาบาลี แคว้นมคธ เป็นดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย เมืองโบราณสำคัญก็อยู่ในแคว้นมคธ ได้แก่ นครไทยเทศ (ปัจจุบัน น่าจะเป็นเชียงใหม่ เมืองโยกเชียงแสน และเมืองปาตาลีบุตร (ตามจารึกวัดวัดศรีชุม อยู้ห่างจากศรัสัชชนาลัย ๒ คืน ตั้งอยู่ริมฝั่งอโนมานที) ภาษาบาลี เป็นของชาวสุวรรณภูมิ แต่กลายเป็นของอินเดีย เพราะฝรั่ง เช่นกัน หนึ่งในจำนวนนั้นคือ คุณหมอบลัดเลย์ ผู้ร่วมก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช และผู้ก่อตั้งโรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี และเป็นผู้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศสยาม คุณหมอบลัดเลย์ท่านบอกว่า อักษรไทยมาจากอินเดียใน พ.ศ. ๒๔๑๓ ภาษามคธ มีอักษรที่ใช้จารึก เรียกว่า อักษรธรรม ซึ่งออกแบบให้เขียนตามหลักไวยกรณ์และหลักการสังโยคภาษาบาลี เช่น ตำแหน่งพยัญชนะและสระจม สระลอย ใบลานส่วนใหญ่ที่พบเห็นที่อิสานหรือทางเหนือ ล้วนเป็นพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาหรือเกี่ยวเนื่องกันทั้งนั้น หากภาษาบาลีไม่ใช่ภาษาของชาวเหนือและอิสานแล้ว เหตุใดการประดิษฐ์อักษร จึงสอดคล้องความต้องการใช้ในภาษาบาลี อักษรขอมก็เช่นเดียวกัน เป็นอักษรไทยที่ขุนขอมไทยประดิษฐ์ขึ้น 15 ปีหลังจากน้องชายของท่าน คือ ขุนสือไทย คิดลายสือไทยขึ้นเมื่อปีอิน 1235 (6,765 ปีมาแล้ว) ลายสือไทยและลายขอมไทยจึงเป็นอักษรไทย ไม่ใช่ของเขมร และไม่ใช้คำว่า “ภาษาขอม” มีเฉพาะ “อักษรขอม” นักภาษาไทยควรใช้คำให้ถูกต้อง ดังนั้น ภาษาธรรมที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งมีหลักฐานว่า มีภาษาเขียนแล้ว เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสคำว่า “ใบลานเปล่า” “มา ปิฎก...ไม่ให้เชื่อตำรา....” มาตั้งแต่ครั้งที่ทรงพระชนม์อยู่ นอกจากนี้ การใช้ภาษาบาลีและภาษาไทยลาวควบคู่กันมีรูปแบบที่ชัดเจน ที่แสดงว่า ชาวมคธกับชาวไทยลาวเคยอยู่ร่วมกันหรือเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกัน หากแต่ว่าสองพันกว่าปีทำให้ภาษากรายเป็นอย่างปัจจุบัน โปรดดูข้อสังเกตของคุณอาตม ใน"ความจริงซึ่งไร้หลักฐานทางเอกสาร ที่นักวิชาการต้องหัวร่อ" การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑ ต้องมีการบันทึกลงใบลานแล้ว มิใช่จดจำหรือเป็น “มุขปาฐะ” ดังที่สั่งสอนกันว่า มีการบันทึกลงใบลานครั้งแรกในสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่ลังกา ต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่า ภาษาบาลี อยู่ในสุวรรณภูมิ 6.1 ชื่อเมือง แม่น้ำ ป่า คนฯลฯ ในสุวรรณภูมิส่วนมากใช้ภาษาบาลี เช่นแม่น้ำกุกกนที (แม่น้ำกก) แม่น้ำ ขรนที หรือ แม่น้ำธนนที (แม่น้ำโขง) ธนมูลนที (แม่น้ำมูล) ชีวายนที (แม่น้ำชี) ลัมภคารีวัลย์ (ลำปางหลวง) ฯลฯ จึงมั่นใจว่า ภาษามคธหรือภาษาบาลี เป็นภาษาดั้งเดิมที่ชาวไทยลาวใช้ในแดนสุวรรณภูมิ ดังนั้นแคว้นมคธ จึงน่าจะอยู่ในแดนสุวรรณภูมิมากกว่าอยู่ในอินเดีย |
แม้แต่คำว่า “ของลับ” ที่ใช้กันในภาษาไทยและลาว ก็เป็นภาษาบาลี คือ “คุยห” ที่มีการแผลงสระอุ เป็น ว (ภาษากลาง) หรือ ตัดไปเลย (ภาษาอิสาน) ส่วน “ห” เสียงหายไป อีกคำหนึ่งคือ กาลามะ ที่มาของ “กาลามสูตร” ก็มาจากพวก “กุลา” แผลง อุ เป็น อะ และเป็นอา ชาวกุลาเป็นชนเผ่าหนึ่งทางภาคอิสาน อาศัยอยู่แถวทุ่งกุลาร้องไห้ 6.2 วัฒนธรรม ของสุวรรณภูมิมีมายาวนาน ตามการศึกษาจากกระเบื้องยางที่คูบัวของพระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต) แห่งวัดโสมนัสวิหาร ดินแดนขุนอิน (Indies) คือชมพูทวีป ได้แก่ ไทย ลาว เขม พม่า และมอญ เมื่อแขก Hindustan แยกตัวแขกก็เรียกตัวเองว่า India นักวิชาการไทยก็ยกชมพูทวีปให้อินเดีย นักวิชาการอินเดียหรือฝรั่งก็ไม่เคยเรียกอินเดียว่า ชมพูทวีป น่าอดสูใจมาก ตามกระเบื้องจานที่คูบัว สยามเป็นอยู่วัฒนธรรมของโลก เป็นบ่อเกิดวัฒนธรรมของโลก 19 อย่าง ถ้าเทียบกับภาพยนตร์ ก็คล้ายกับว่า Episode 1 2 3 หรือหนังม้วนแรกๆ ที่บอกว่า อินเดียนำวัฒนธรรมไปจากดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อหลายพันปีมาแล้วเกิดสูญหายไป เหลือแต่ Episode 4, 5, 6 หรือหนังม้วนหลังๆ ที่ฉายให้เห็นว่า วัฒนธรรมอินเดียแผ่ซ่านมาถึงดินแดนสุวรรณภูมิ อะไรต่ออะไรจึงกลายเป็นของอินเดียหมด แม้แต่ศาสนาพราหมณ์ ภาษาบาลี เป็นต้น
ข้อมูลใหม่ หลักฐานเอกสารหนึ่งที่แสดงว่า ภาษาบาลีเกิดขึ้นในดินแดนไทย คือ หนังสือ O. von Hinuber. Seleced Papers on Pali Studies. Oxford: The Pali Text Society,1994, ที่มีเนี้อหาบางตอนได้กล่าวถึง คำว่า "บาลี" ว่า ชาวตะวันตกได้รู้จักคำว่า "บาลี" หรือ "ภาษาบาลี" เป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 โดย M. Simon de la Loubere ซึ่งเป็นเอกอัครราชฑูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ได้ถูกส่งมาประจำที่ไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ ค.ศ.1687 (พ.ศ. 2230) โดยกล่าวว่า บาลีเป็นภาษาที่คณะสงฆ์ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย หลักฐานนี้สนับสนุนว่า ภาษาบาลีเกิดในประเทศไทย และแสดงให้เห็นว่า ชาวตะวันตกได้รู้จักภาษาบาลีครั้งแรกจากประเทศไทย จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมฝรั่งไม่ได้รู้จักชื่อ "บาลี" นี้จากที่อื่น ทั้งๆ ที่ในสมัยนั้นฝรั่งตะวันตกจากประเทศต่าง ๆ ได้ออกไปล่าอาณานิคมในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศรีลังกาและอินเดีย ฯลฯ แต่ก็ไม่มีการกล่าวถึงภาษาบาลีเลย มีที่กล่าวถึงก็เฉพาะภาษาสันสกฤต (ที่ชาวอังกฤษบางคนชื่อ James Prinsep เป็นผู้เชี่ยวชาญ) อาจเป็นไปได้ว่า ภาษาบาลีที่คณะสงฆ์ในแถบประเทศอื่น ๆ ใช้นั้น ไม่ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง หรือเด่นชัดเท่ากับที่ใช้ในประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นต้นฉบับของภาษาบาลี จึงมีการใช้ภาษาบาลีกันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าเวลาจะห่างจากสมัยพุทธกาลตั้ง สองพันปีมาแล้ว ประเทศไทยมีพระสงฆ์และประชาชนที่สามารถอ่านและเขียนภาษาบาลีมีจำนวนมากที่สุดในโลก ไม่ใช่ชาวอินเดียอย่างที่เข้าในกัน |
ภาษาเขียนมีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาล การสังคายนาพระไตรปิฎกจารึกโดยใช้อักษรธรรม พระไตรปิฎกที่จารึกลงบนกระเบื้องจารที่คูบัว จารึกไว้โดยพระปุณเถระเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาเมืองทองสมัยพระเจ้าทับไทยทอง
ว่าด้วยนกมัยหกะ (นกเขาคู)ที่ร้อง
จุกๆ กู ที่มาของ "ของกูๆ"
สอดคล้องกับเสียงในภาษาไทย
คือ กู แสดงว่า
ชาวเมืองสาวัตถีมีคำศัพท์ว่า
“
กู
”
ที่มีความหมายว่า “
เรา
– ข้าฯ ( I )
ภาษาเขียนมีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาล การสังคายนาพระไตรปิฎกจารึกโดยใช้อักษรธรรม (โดย คุณอาตม ศิโรศิริ) ภาษาไทยพัฒนามาจากภาษาอินเดียจริงหรือ? จาก "พุทธอุบัติภูมิอยู่ที่เมืองไทย.ชมพูทวีปก็อยู่ที่ประเทศไทย" โดย คุณเอกอิสโร วรุณศรี
|
หลังจากศึกษาข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้แล้ว ก่อนออกจากเว้ปนี้ โปรดโหวตก่อนออกด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง
Webmaster: chaiyong@buddhabirthplace.com; chaiyongusc@gmail.com