[หน้าแรก] [เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล]

[ ภาษาสมัยพุทธกาล][ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/งศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม]

 

 engicon

 ผู้เข้าอ่านตั้งแต่เมษายน 2022 web counter

โปรดโหวตและดูผลการสำรวจ คลิ้ก

โหวตที่ POLLBAGEL

โหวตภาษาไทย

click2

ดูผลโหวต prevoteresult

 

 

โดยรวม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า พระพุทธอุบัติภูมิไม่ได้อยู่ในอินเดียหรือเนปาล แต่อยู่ในสุวรรณภูมิ คือ ไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ?

click-2

 

Webmaster: chaiyongusc@gmail.com
Updated: December  11, 2016

 


 

นอกจากที่กล่าวมาตามหัวข้อต่างๆ แล้ว ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตมากมายเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ในทาง พระพุทธศาสนา อาทิ

หากพระภิกษุอยู่ในเนปาล ซึ่งอยู่เชิงเขาหิมาลัย อากาศคงหนาวมาก พระภิกษุจะอยู่ได้อย่างไรโดย ครองจีวรบางๆ ไม่กี่ชิ้น และไม่สวมรองเท้า ยิ่งในช่วงสองพันปีมาแล้วคงหนาวเยือกเย็นกว่า ปัจจุบันเป็นอย่างมาก (แค่ ๓๐ ปี กรุงเทพก็มีอากาศเย็นกว่าในปัจจุบัน)

ไม่มีการเอ่ยถึงหิมะ ในความหมายของ Snow ในพระไตรปิฎก แต่ใช้เฉพาะหิมะในความหมายของ ความเห็น หิมพานต์ มาจาก หิมะ (เย็น) + วนต (มี)=มีความเย็น ส่วนใหญ่ เข้าใจว่า เป็นน้ำค้าง ป่าหิมพานต์ คือ ป่าน้ำค้าง เพราะไม่เย็น ก็จะไม่มีน้ำต้าง จึงหมายถึงป่าดงดิบทางเหนือ หรืออิสาน ซึ่งปัจจุบัน ก็ยังมีหมอกเป็นน้ำค้างฝอยเม็ดโตๆ พรั่งรูลงมาให้เห็นกันอยู่ ป่าหิมพานต์จึงหมายถึง ป่าบริเวณภูพาน เขาใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และภาคเหนือ

ฤาษีที่ห่มหนังเสือ ไม่ปรากฏในอินเดีย พบเห็นแต่ในเมืองไทย เพราะอากาศเมืองไทย เอื้ที่จะให้ฤาษี ห่มหนังเสือได้ ในพงศาวดารพระนโรศวร กับ พระเอกาทศรถ เคยยกกองทัพผ่านวัด "ฤษีซุม" (วัดที่มีฤาษีมาก)

 

หน่วยวัดระยะทาง ในพระไตรปิฎกใช้หน่วยวัด เป็น โยชน์ เส้น งาน วา ศอก คืบ ตรงกับที่ใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิโดยเฉพาะในประเทศไทย ส่วนในอินเดียไม่ได้ใช้หน่วยวัดระยะทางตามที่กำหนดไว้ในพระไตรปิฎก

ในสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา บรรพบุรุษของไทยใช้หน่วยวัดนี้อย่างต่อเนื่อง เช่น ระยะทางที่พระเจ้าปราสาททองเสด็จจากวังหลวงไปยังพระตำหนักพักร้อนซึ่งอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอยุธยาโดยทางชลมารค มีระยะทาง ๓๙๐ เส้น (เกือบ ๑๖ กิโลเมตร) จากที่ประทับพักร้อนไปถึงตำหนักท่าเรือฝั่งตะวันออกของคือพระตำหนักเจ้าสนุกห่างออกไป ๖๖๐ เส้น (ประมาณ ๒๔ กิโลเมตร) ในเขตสระบุรีปัจจุบัน แล้วจึงเสด็จไปประทับที่ตำหนักธารเกษม(ธารทองแดง) ซึ่งอยู่เชิงเขาพระพุทธบาท เป็นต้น

ประกาศเทวดาครั้งสังคายนา รัชกาลที่ ๒ ระบุไว้หลายแห่งว่า ชมพูทวีป คือ กรุงสัมมาทิฐิ ได้แก่ เมืองไทย ลาว เขมร พม่า มอญ

พงศาวดารกรุงเก่าฉบับราชบัณฑิต ร.ศ. ๑๓๓ บรรยายลักษณะภูมิประเทศสำหรับการรบทางเรือ เช่น พระนเรศวรเสด็จทางชลมารค จากอยุทธยาถึงกาญจนบุรี ใช้เวลา ๕ วัน และระบุว่า สุวรรณภูมิ คือ ชมพูทวีป

 

อ่านภาพถ่าย

โปรดคลิ้ก

ขอเชิญท่านแสดงความคิดเห็นโต้แย้งและคัดค้านในเว้ปบอร์ด

WEB BOARD

 

อ่านข้อเขียนหรือบทความพิเศษ

SPECIAL ARTICLES

หลังจากศึกษาข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้แล้ว ก่อนออกจากเว้ปนี้ โปรดโหวตก่อนออกด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง

โปรดคลิกที่นี่