|
[หน้าแรก] [เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล] [ ภาษาสมัยพุทธกาล][ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/พงศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] |
|
|
หลังจากอ่านหน้านี้แล้ว
ท่านเห็นด้วยกับข้อมูลหรือไม่โปรดโหวตและดูผลการสำรวจ
คลิ้ก ที่ POLLBAGEL โหวตภาษาไทย
โดยรวม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า
พระพุทธอุบัติภูมิไม่ได้อยู่ในอินเดียหรือเนปาล แต่อยู่ในสุวรรณภูมิ คือ ไทย
ลาว เขมร พม่า และมอญ?
Webmaster:
chaiyongusc@gmail.com
|
โครงการวิจัย
พระพุทธอุบัติภูมิ:
สถานที่เกิดจริงของพระพุทธศาสนาเถรวาท
(The Authentic Birth Place of Dheravadha
Buddism)
ที่มาของปัญหาวิจัยเกิดจากความคิดที่ว่า
พระพุทธเจ้า
น่าจะไม่ได้อุบัติขึ้นในอินเดียโบราณ
และมีคนไทยเป็นจำนวนมากไม่เชื่อเช่นนั้น
(ใน
พ.ศ.๒๕๔๕
มีผู้ที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเกิดในเมืองไทย
๔๕%
ใน
พ.ศ.
๒๕๖๕
เพิ่มขึ้นเป็น
๘๓.๕%)
ปฐมเหตุแห่งความสงสัยเกิดจากคำถามและข้อสังเกต ๗ ประการ
คือ
ประการแรก
"เหตุใด
ในประเทศไทย
จึงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
เป็นจำนวนมาก
แต่ในอินเดียและเนปาล
กลับมีไม่ถึง
๒๒๑
แห่ง
หรือทำไม
พระเจ้าอโศกของอินเดียไม่ได้จารึกเรื่องสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่
๓
ไว้ในเสาหินอโศก
ทั้งๆ
ที่เป็นเหตุการณ์สำคัญมากตามที่บัญญัติไว้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา.....
ประการที่
๓
ทำไมเสาหินอโศก
ไม่มีจารึกเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ
๓
เรื่อง
คือ(๑)
การสังคายนาพระไตรปิฏก
ในพ.ศ.
๒๓๕
(๒)
การจัดพระสึก
หกหมื่นรูป
และ
(๓)
การบวชของโอรสและธิดา
คือ
พระมหินทรเถระ
และพระอมิตาเถรีในลังกาทวีป
ประการที่
๔
ชื่อเมือง
สถานที่ที่ปรากฏในอินเดีย
มันมีอยู่จริงไหม
หรือว่า
เพิ่งเกิดขึ้นตามที่พระธรรมเจดีย์
(ปาน)
แห่งวัดมหรรณ์
ประท้วงว่า
แขกจากเมืองกาสี
๘
คนมาเรี่ยรายเงินไปทำนุบำรุงพุทธคยาและนำพระไตรปิฏกไป
และกลับมาพร้อมแผนที่ใหม่ที่มีชื่อเมืองจากพระไตรปิฏกปรากฎ
ประการที่
๖
ทำไมช่วงเวลาเข้าพรรษา
คือกลางเดือนแปด
ถึงกลางเดือน
๑๑
ทำไมตรงกับเมืองไทยพอดี?'
จากข้อสงสัย ๗ ประการ ประกอบกับงานเขียนของพระธรรมเจดีย์
(ปาน)
ในหนังสือ "พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ--อ้อย ต้นจืดปลายหวาน กินนานอร่อย" ได้จุดชนวนทำให้มีกลุ่มบุคคลโดยการนำของ
ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ รวมตัวเป็นคณะผู้วิจัย
เพื่อทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ให้กระจ่างขึ้น
2.
วัตถุประสงค์การวิจัย
๑)
เพื่อศึกษาดินแดนและประเทศที่ประกอบเป็นชมพูทวีป
๔) เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับสังเวชนียสถานทั้ง
๔
คือ
สถานที่ประสูติ
ตรีสรู้
ปฐมเทศนา
และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และเมืองต่างๆ
ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
3. คำถามวิจัย คำถามที่ ๑ ชมพูทวีป คืออะไร ครอบคลุมดินแดนของประเทศใด?
คำถามที่
๒
ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิอากาศ
ชื่อภูเขา ชื่อแม่น้ำ
และชื่อเมือง สอดคล้องกับ ภูมิประเทศ ชื่อภูเขา ชื่อแม่น้ำ
และชื่อเมือง
ในประเทศใด?
คำถามที่
๓
ภาษาบาลีเกิดขั้นเมื่อใดและใช้ในดินแดนใด
มีความสัมพันธ์กับภาษาไทยอย่างไร แตกต่างจากภาษาสกฤตอย่างไร? คำถามที่ ๔ ตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎก วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม ที่ถือปฏิบัติในประเทศไทยกับอินเดีย แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไร
คำถามที่
๕
พุทธโบราณสถานและพุทธโบราณวัตถุในดินแดนสุวรรณภูมิกับในอินเดียโบราณมีจำนวนและลักษณะแตกต่างกันอย่างไร?
คำถามที่
๖
พุทธสถาปัตยกรรม
พุทธศิลปะ
(ช่าง๑๐ หมู่)
เป็นศิลปะของประเทศใด?
4.
สมมติฐานการวิจัย
1) ชมพูทวีป
เป็นดินแดนที่ประกอบด้วยไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ
2) ภูมิประเทศ ภูเขา
แม่น้ำ เมือง ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกสอดคล้องกับที่ตั้ง ทิศ
และระยะทางระหว่างเมืองตรงกับภูเขา แม่น้ำ
และเมืองในประเทศไทยและเมืองอื่นในดินแดนสุววรรณภูมิ
3) ภูมิอากาศ
ช่วงเช้าพรรษา การแบ่ง ๓ ฤดูในพระไตรปิฎกสอดคล้องกับภูมิอากาศในดินแดนสุวรรณภูมิ
4) ปฏิทินจันทรคติแสดงวันเวลาตรงกับปฏิทินจันทรคติไทยไม่ใช่ปฏิทินอินเดียหรือประเทศอื่น
5) ภาษาบาลีเกิดและใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ
และมีความสัมพันธ์กับภาษาไทยอย่างแยกกันไม่ออก
ส่วนภาษาสันสกฤตเป็นภาษาของอินเดียที่มีการเพิ่มอักษรให้สอดคล้องกับการออกเสียงของชาวอินเดีย
ได้แก่ ศ ษ เพิ่มเติมจาก ส ของบาลี
6)
วิถีชีวิต
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือปฏิบัติในประเทศไทยสอดคล้องกับที่ถือปฏิบัติตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎก 7) พุทธโบราณสถาน พุทธโบราณวัตถุ และพุทธสถาปัตยกรรมในประเทศไทยสอดคล้องกับลักษณะสิ่งก่อสร้างตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และมีจำนวนในดินแดนสุวรรณภมิมากกว่าในอินเดียโบราณ
5. ขอบเขตการวิจัย 5.1 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเอกสารโดยใช้ทฤษฎีมูลฐาน (Grounded Theory) 5.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเอกสาร ประกอบด้วย 5.2.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเอกสาร ประกอบด้วย 1) พระไตรปิฎกภาษาไทย และภาษาบาลี ฉบับหลวง 2) เอกสารโบราณ ประกอบด้วย สังคติยวงศ์ ชินบาลีปกรณ์ ประถมมูล โลกอุบัติ 3) กระเบื้องจารึกที่คูบัว ฉบันพระราชกวี (อ่ำ) ธัมมทัตโต 4) ศิลาจารึกวัดศรีชุม และศิลารึกป่ามะม่วง 5) บันทึกการเดินทางพระถังซัมจั๋ง 6) พระเจ้าเลียบโลก 7) บันทึกคำสอนของเกจิอาจารย์ อาทิ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์ชา หลงตามหาบัว 5.2.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างบุคคล ประกอบด้วย 1) พระภิกษุสายอรัญวาสีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) นักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนา 3) ศาสนิกชน สูงวัยที่ไม่ถูกครอบงำด้วยความคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นขาวอินเดีย 5.2.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างสถานที่ ประกอบด้วยสถานที่ที่ตั้งสมมติฐานว่า เป็นเมืองในสมัยพระพุทธกาล ได้แก่ เชียงใหม่ หรือนครไทยเทศ (ราชคฤห์) ตำบลสาวะถี จังหวัดขอนแก่น (เมืองสาวัตถี) อำเภอกลางดง (เมืองพาราณสี) อำเภอโกสุมพิสัย (โกสัมพี) อุทัยธานี (อุชเชนี) พระธาตุศรีสมรัก (สถานที่ประสูติ) พระแท่นศิลาอาสน์ (สถานที่ตรัสรู้) พระพุทธบาทน้อย (ปฐมเทศนา) ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก (อิสิปตนมฤคทายวัน) พระแท่นดงรัง (สถานที่ปรินิพพาน) 5.3 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบบันทึกการวิจัยเอกสาร (2) แบบบันทึกตามขั้นตอนการวิจัยตามทฤษฎีมูลฐาน (3) ภาพถ่าย ภาพนิ่ง และวิดีโอ (4) รายงานบันทึกสถานที่จริง 5.4 วิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (1) การศึกษาเอกสาร (2) การเยี่ยมสถานที่จริง และ (3) สัมภาษณ์ 5.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการตามวิธีวิจัยเอกสาร และการวิจัยตามทฤษฎีมูลฐาน ขั้นตอนการวิจัย
ระยะที่
๑
วิจัยเอกสาร
(๒๕๔๒-๒๕๔๙)-ศึกษาเอกสารจากพระไตรปิฎก
อรรถกถาจารย์
เอกสารโบราณทางพระพุทธศาสนา
ศิลาจารึก
พงศาวดาร
และตำนาน
และสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน
๙๐
ปี
หรือผู้ที่ยังไม่ถูกครอบงำด้วยแนวคิดประวัติพระพุทธศาสนาจากตะวันตกและอินเดีย
ระยะที
๒
ศึกษาภาคสนาม
(๒๕๔๙-๒๕๕๓)
-เดินทางไปศึกษาแนวลึกตามสถานที่ต่างๆ
เพื่อหาร่องรอยการประสูติ
ตรัสรู้
เผยแผ่ศาสนา
และปรินิพพานทั้งในประเทศไทยและใกล้เคียง
รวมทั้งในประเทศอินเดียและเนปาล
|
ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ pan lang="th"> (อดีตพระอภิญญาโณภิกขุ วัดป่ากุง จังหวัดร้อยเอ็ดของหลวงปู่ศรี) ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ หนึ่งในกลุ่มผู้นำการฟื้นคติเกี่ยวกับพุทธอุบัติภูมิ
|
จารึกวัดศรีชุมแสดงว่า ปาตาลีบุตรและแม่น้ำอโนมานทีอยู่ห่างจากสุโขทัยเพียง ๒-๓ คืน พระเจ้าอโศกแห่งอินเดีย (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๖๙ หลังสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๕ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๓๐๑) เป็นคนละองค์กับพระเจ้าอโศกไทย (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๕๙) เสาหินพระเจ้าอโศกอินเดียไม่ได้กล่าวถึงการสังคายนาพระไตรปิฎก การเดินทางสู่สุวัณณภูมิของคณะสงฆ์จีน (พระถังซัมจั๋งและสมณะงี่เจ็ง)
|
หลังจากศึกษาข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้แล้ว ก่อนออกจากเว้ปนี้ โปรดโหวตก่อนออกด้วยจะเป็นพระคุณยิ่งn>
Webmaster: chaiyong@buddhabirthplace.com; chaiyongusc@gmail.com