|
[หน้าแรก] [เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล] [ ภาษาสมัยพุทธกาล][ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/พงศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] |
|
|
ผู้เข้าอ่านตั้งแต่เมษายน 2022 พุทธโบราณสถาน เป็นส่วนหนึ่งของเว้ปไซต์ www.buddhabirthplace.com หลังจากอ่านเนื้อหาสาระแล้ว ท่านเห็นอย่างไรกํบข้อมูลที่นำเสนอ โปรดโหวตแสดงความเห็นด้วย
ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับข้อมูลเรื่อง "พุทธโบราณสถาน"
ที่จัดแย้งกันระหว่างที่ปรากฎในพระไตรปิฎกและที่อยู่ในอินเดีย?
โดยรวม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า พระพุทธอุบัติภูมิไม่ได้อยู่ในอินเดียหรือเนปาล แต่อยู่ในสุวรรณภูมิ คือ ไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ?
Webmaster:
chaiyongusc@gmail.com
|
พุทธโบราณสถานและโบราณวัตถุมีอยู่ในประเทศใดมากที่สุด: อินเดียหรือสยาม ในอินเดียปัจจุบัน มีโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับที่มีในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากโบราณสถานที่อ้างว่า เป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรม ปรินิพพาน และอีก 2-3 แห่งที่เมืองสานจี ถ้ำอาชันตา และนาลันทาแล้ว รวมทั้งสิ้นประมาณ ๒๒๑ แห่งแล้ว ไม่มีโบราณสถานอื่น เช่น พระพุทธบาท เจดีย์ วิหาร ฯลฯ หลงเหลือให้เห็นเลย แม้แต่ที่อ้างว่า พระเจ้า อโศกมหาราชสร้างวิหาร 84,000 วิหารถวายเป็นพุทธบูชา ก็ต้องถามว่า อยู่ที่ไหนบ้าง ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีเจดีย์ พุทธวิหาร พระบรมสาริกธาตุ พระพุทธบาทมากมายรวมกันเป็นหมื่นแห่ง เช่น พระเสมหธาตุ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอาเจียน ออกมาเป็นพระโลหิต ก็มีพบเห็นที่วัดเพชรพลี จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ ยังมีถ้ำพระพุทธฉาย รอยพระพุทธบาท อยู่หลายแห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ในสมัยพระพุทธกาล ประเทศเขมรเป็นดินแดนที่เรียกว่า "กุรุราฐ" (แดนทราย กุรุ=ทราย) ส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินล้อมรอบด้วยทะเล ชายฝั่งทะเลด้านเหนืออยู่ที่ฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นได้ชัดเจน คือเขาพระวิหาร จะเป็นเชิงเขาลึกลงไป เพราะเป็นทะเลลึกในอดีตกาล ในพงศาวดารกรุงเก่า ระบุไว้ชัดเจนตอนพระนเรศวรเสด็จไปปราบพระยาละแวก และทำพิธีปฐมกรรม สมเด็จพระนเรศวรได้เอ่ยถึงเขมรว่าเป็น "อินทปัตถ์นครแห่งกุรุรัฐ" หรือ กุรุราฐ. จึงเห็นได้ว่า ในด้านโบราณคดี พุทธสถานมีมากมายในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ชมพูทวปในอดีต เพราะพระพุทธเจ้าประสูติที่พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย ตรัสรู้ ที่ พระแท่นศิลาอาจ ปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปัตนมฤคทายวัน (สวนกวางเขตอภัยทานริมฝั่งน้ำของพระฤาษี) ที่ทับกวาง แก่งคอย สระบุรี แขวงเมืองพาราณสี คือ อำเภอกลางดง เขาใหญ่(เมืองหลวงแห่งดินแดนศักดิสิทธิ์ คือ สยาม) และปรินิพพาน ณ พระแท่นดงรัง อำเภอท่ามะกา จังหวัดสระบุรี ส่วนในอินเดีย เช่น พุทธคยา ก็เป็นของฮินดู เมื่อ Dr,Francis Buchanan ค้นพบก็ยืนยันว่า "ผู้มัศักดิ์ใหญ่พร้อมด้วยบริวารจำนวนมากจากชมพูทวีปมาสักการะ" แสดงว่า พุทธยาไม่ได้ตั้งอยู่ในชมพูทวีป แต่พุทธคยาตั้งอยู่ในอินเดีย ดังนั้นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ประสูติในอินเดีย เพราะหลักฐานในพระไตรปิฎก ยืนยันว่า พระพุทธเจ้าประสูติในชมพูทวีป คือ ดินแดนที่ประกอบด้วย ไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ. รูปร่างของพุทธคยาเมื่อมีการค้นพบโดย Dr. Francis Buchanan ก็มิได้มีรูปร่างเหมือนปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นพุทธมากขึ้น
(ภาพซ้าย) พุทธคยาดั้งเดิมเมื่อ ค.ศ. 1814 (กลาง) พุทธคยา ที่ปรับปรุงใหม่ให้แลเป็นพุทธ (ขวา) Sir Alexander Cunningham ผู้เขียนประวัติพระพุทธศาสนาใหม่ ทำให้พระพุทธเจ้ากลายเป็นแขกอินเดีย มาไม่ถึง ๑๕๐ ปี คนไทยก็เชื่อทั้งๆ ที่ รัชกาลที่ ๔ ทรงปฏิเสธก่อนที่พระองค์จะสวรรคตว่า พระพุทธเจ้าไม่ใช่แขกอินเดีย สถานที่ประสูติ ปรินิพพาน ก็เช่นเดียวกัน ในอินเดียหรือเนปาล ก็ไม่ตรงกับที่บัญญัติในพระไตรปิฎก ส่วนในประเทศไทย ก็มีครบถ้วนทั้งที่ประสูติ ตรัสรู้ และรินิพพาน
ซ้าย บันไดขึ้นพระเจดีย์ศรีสมรัก (ระหว่างพระนางสิริมหามายาและเจ้าชายสุทโธทน กลางพระธาตุ ขวา พระเจดีย์ศรีสมรัก อำเภอด้านซ้าย จังหวัดเลย ที่ประสูติ พระธาตุศรีสมรัก (สองรัก) จังหวัดเลย ตรัสรู้ที่พระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์ ปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (สวนกวางเขตอภัยทานท่าน้ำของพระฤษี คือ ปัญวัคคีย์) และปรินิพพานที่พระแท่นดงรัง อำเภอท่ามะกา กาญจนบุรี
สถานที่ปรินิพพารที่พระแท่นดงรัก มีลำแสงบุญพาดให้เห็น ผู้เขียนถ่ายภาพเอง พระแท่นยาว 4.5 เมตร แสดงว่า พระพุทธองค์สูงประมาณ 4 เมตรภาพล่างกลาง เป็นเนินเขาถวายพระเพลิง และล่างขวามือคือกุฏิพระอานนท์
|
พระเสมหธาตุ ที่วัดเพชรพลี จังหวัดเพชรบุรี
ขอเชิญท่านแสดงความคิดเห็นโต้แย้งและคัดค้านในเว้ปบอร์ด
|
จารึกวัดศรีชุมแสดงว่า
ปาตาลีบุตรและแม่น้ำอโนมานทีอยู่ห่างจากสุโขทัยเพียง ๒-๓ คืน
พระเจ้าอโศกแห่งอินเดีย
(ครองราชย์ พ.ศ. ๒๖๙ หลังสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ พ.ศ.
๒๓๕ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๓๐๑) เป็นคนละองค์กับพระเจ้าอโศกไทย (สิ้นพระชนม์ พ.ศ.
๒๕๙)
เสาหินพระเจ้าอโศกอินเดียไม่ได้กล่าวถึงการสังคายนาพระไตรปิฎก
การเดินทางสู่สุวัณณภูมิของคณะสงฆ์จีน
(พระถังซัมจั๋งและสมณะงี่เจ็ง)
หลังจากอ่านหน้านี้แล้ว
ท่านเห็นด้วยกับข้อมูลหรือไม่โปรดโหวตและดูผลการสำรวจ
คลิ้ก
โหวตที่ POLLBAGEL โหวตภาษาไทย
Webmaster:
chaiyongusc@gmail.com
|