[หน้าแรก] [เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล]

[ ภาษาสมัยพุทธกาล][ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/งศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม]

 


engixon

 ผู้เข้าอ่านตั้งแต่เมษายน 2022 web counter

หลังจากอ่านหน้านี้แล้ว ท่านเห็นด้วยกับข้อมูลหรือไม่โปรดโหวตและดูผลการสำรวจ คลิ้ก ที่ POLLBAGEL

โหวตภาษาไทย

click2

ดูผลโหวต prevoteresult

Webmaster: chaiyongusc@gmail.com
Updated: March 4, 2022

 

 

 

สภาพภูมิประเทศในพระไตรปิฎกตรงกับดินแดนไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ

สภาพภูมิประเทศ ของเนปาล และอินเดียในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหลายประการที่เกี่ยวกับปราสาท 3 ฤดู ช่วงเวลา เข้าพรรษา และระยะทางจากเมืองต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระสูตร และตามที่เป็นจริง                            

     ปราสาท 3 ฤดู ตามพุทธประวัติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถเจริญวัย พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท 3 ฤดู คือ ปราสาทฤดูร้อน ปราสาทฤดูฝน และปราสาทฤดูหนาว

    เมื่อดูที่ตั้งในเนปาล ดินแดนที่อ้างว่าเป็นที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุแล้ว ปรากฏว่า อยู่เหนือเส้นขนานที่ 24 จัดอยู่ในเขต Tropic of Cancer ซึ่งมี 4 ฤดู ประเทศเนปาลตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัยซึ่งโดยทั่วไปจะมีอากาศเย็น ดังนั้นกรุงกบิลพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาท 3 ฤดูจึงไม่น่าจะอยู่ใน ประเทศเนปาล

สภาพภูมิอากาศในสมัยพุทธกาล

ภาพภูมิอากาศ ที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกตรงกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมากกว่าที่เนปาลและอินเดีย

     ในเนปาลในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหลายประการที่เกี่ยวกับปราสาท 3 ฤดู ช่วงเวลา เข้าพรรษา และระยะทางจากเมืองต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระสูตร และตามที่เป็นจริง 

     ปราสาท 3 ฤดู ตามพุทธประวัติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถเจริญวัย พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท 3 ฤดู คือ ปราสาทฤดูร้อน ปราสาทฤดูฝน และปราสาทฤดูหนาว

     อย่างไรก็ตาม เมื่อดูที่ตั้งดินแดนที่อ้างว่าเป็นที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุแล้ว ปรากฏว่า อยู่เหนือเส้นขนานที่ 24 จัดอยู่ในเขต Tropic of Cancer ซึ่งมี 4 ฤดู ประเทศเนปาลตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัยซึ่งโดยทั่วไปจะมีอากาศเย็น ดังนั้นกรุงกบิลพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาท 3 ฤดูจึงไม่น่าจะอยู่ใน ประเทศเนปาล

     ช่วงฤดูเข้าพรรษา ตามพระวินัยกำหนดให้พระอยู่ประจำพรรษา 3 เดือนในช่วงเดือนสิงหาคม-กลางเดือนตุลาคม แต่ในเนปาล และอินเดียตะวันตก จะมีฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ดังนั้นการกำหนดช่วงเข้าพรรษา  จึงน่าจะไม่ใช่กำหนดตาม  สภาพ ภูมิศาสตร์ในเนปาลหรืออินเดียตะวันตก แต่น่าจะกำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ ในปัจจุบัน เพราะแม้เหตุการณ์จะผ่านไปกว่าสองพันปีช่วงเวลาเข้าพรรษาก็ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพระวินัย

     ช่วงฤดูเข้าพรรษา ตามพระวินัยกำหนดให้พระอยู่ประจำพรรษา 3 เดือนในช่วงเดือนสิงหาคม-กลางเดือนตุลาคม (กลางเดือน ๘ - กลางเดือน ๑๑) ตรงกับช่วงเข้าพรรษาในเมืองไทยไม่คลาดเคลื่อนเลย

     แต่ในเนปาล และอินเดียตะวันตก จะมีฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ดังนั้นการกำหนดช่วงเข้าพรรษา  จึงน่าจะไม่ใช่กำหนดตาม  สภาพ ภูมิศาสตร์ในเนปาลหรืออินเดียตะวันตก แต่น่าจะกำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ ในดินแดน สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของไทย ลาว เขมร พม่า ละมอญในปัจจุบัน เพราะแม้ เหตุการณ์จะผ่านไปกว่าสองพันปีช่วงเวลาเข้าพรรษาก็ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพระวินัย

นอกจากนี้ ระยะทางตามที่เป็นจริงในประเทศอินเดียกับระยะทางในพระไตรปิฎกไม่สอดคล้องกัน (โปรดคลิ้กเพื่อดูรายละเอียด)

 

ระยะทางระหว่างเมือง

 เมื่อพิจารณาระยะทางตามความเป็นจริงในอินเดียและตามที่ระบุในพระไตรปิฎกและในอินเดียก็จะเห็นว่า ขัดแย้งกับที่ระบุในพระไตรปิฎก อาทิ

       ๑) ราชคฤห์ห่างจากตักสิลา 90 โยชน์ ก็จะเป็นระยะทางประมาณ 1440 กิโลเมตร (1 โยชน์=16 กิโลเมตร) แต่ในความเป็นจริง ตักสิลาอยู่ทาง ตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบัดในปากีสถานซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่าสองพันห้าร้อยกิโลเมตร แต่ถ้าเป็นราชคฤห์ตามความเชื่อ ของไทยแต่เดิมที่อยู่ทางเหนือของเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือแล้ว (ที่เรียกว่า ห้อหลวงแล้ว) ก็มีความเป็นไปได้มาก

       ๒) กรุงพาราณสีห่างจากตักสิลา ๑๐ โยชน์ เป็นระยะทางประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร แต่ถ้าเทียบกับตักสิลาซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ กรุงอิสลามาบัดในปากีสถานซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่าพันห้าร้อยกิโลเมตร ก็ยืนยันทันทีว่า คนละเมืองแน่นอน

    ๓) กรุงสาวัตถึห่างจากเมืองสาเกต (จังหวัดร้อยเอ็ด) ๗ โยชน์ สาเกตห่างจากโกสัมพี ๖ โยชน์ และโกสัมพีห่างจากสาวัตถึ ๓ โยขน์

     ๔) ในประเทศไทย  มีเมืองราชครฤห์ ชื่อนครไทยเทศ ที่กษัตริยพระองค์หนึ่งชื้อ เทวกาล ทรงอนุญาตให้โอรสองค์สุดท้องชื้อเจ้าชายสิงหนวัติกุมาร พร้อมด้วยบริวารหนึ่งแสนครอบคัว เดินทางปฃปทิศอาคเนย์คือตะวันออกเฉียงเหนือและสร้างเมืองใหม่คือ นาคพันธสิงหนวัติโยนกเชียงแสน คือ เชียงรายในปัจจุบัน นครไทยเทศ หรือเชียงใหม่มีภูเขาล้อมรอบ ๕ ลูก และที่ซ้ำชื่อกัน ๑ ลูก คือ เวภารบรรบตที่อำเภอแม่ริม ที่ตั้งพระพุทธบาทสี่รอย และเป็นที่ปฐมสังคายนาพระไตรปิฎกที่สัตตบรรณคูหา คือถ้ำเชียงดาว*

     จึงเห็นได้ว่า หากพิจารณาระยะทาง ที่เป็นจริงในอินเดีย กับที่ปรากฏในพระไตรปิฏกแล้ว ไม่มีที่ตรงกันเลยแม้แต่จุดเดียว แต่มรเมืองไทยที่ตรงกับพระไตรปิฎกมีหลายกรณี อาทิ

     (๑) ระยะทางระหว่าง เมืองตาก(อำเภอบ้านตาก) ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นตักสิลา และเชิงเขาใหญ่ (บริเวณกลางดง ของอำเภอปากช่อง) ซึ่งเชื่อว่า เป็นที่ตั้ง กรุงพาราณสี แล้ว ระยะทางประมาณ ๑๐ โยชน์ (๑๖๐ กิโลเมตร)  มีความเป็นไปได้สูง

    (๒) ระยะทางระหว่างเมืองสาวัตถี ถึงเมืองสาเกต ๗ โยชน์ (๑๑๘ กิโลเมตร) ก็ตรงกับระยะทางระหว่างร้อยเอ็ด กับตำบลสาวะถี จังหวัดขอนแก่น ในปัจจุบัน

     (๓) ที่ตั้งของเมืองในอินเดีย กับพระไตรปิฎกไม่ตรงกัน  จะเห็นได้จากการเดินทางจากกุสินารา ไปกรุงราชคฤห์ของพระอานนท์ ซึ่งท่านพระอานนท์เถระถือเอาบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม มีความประสงค์จะเดินทางผ่านกรุงสาวัตถีไปยังกรุงราชคฤห์ ก็หลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี....เพื่อให้ทันเข้าพรรษาซึ่งเหลือเวลาไม่กี่วัน แสดงว่า กรุงสาวัตถีอยู่ระหว่างเมืองกุสินารากับราชคฤห์ แต่ในแผนที่อินเดีย สาวัตถี กับราชคฤห์ อยู่คนละฟากกัน คือ สาวัตถีอยู่ทิศเหนือ ส่วนราชคฤห์อยู่ทิศใต้ที่รัฐ Bihar (ข้อสังเกตจากคุณอาตม ศิโรศิริ)

     อย่างไรก็ตามที่ตั้งของเมืองต่างๆ ได้ยึดตามเอกสารของพระธรรมเจดีย์(ปาน) แต่ยังไม่เป็นข้อยุติ เนื่องจาก ทีมคณะผู้วิจัยต่ละทีมยังไม่ได้ข้อยุติที่ตรงกัน ในเบื้องต้น พวกเราทุกทีมต่างมุ่งพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า ชมพูทวีปและพระพุทธอุบัติภูมิอยู่ในดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่า สุวรรณภูมิ

 

อ่านภาพถ่าย

อ่านข้อเขียนหรือบทความพิเศษ

SPECIAL ARTICLES