|
place.com [หน้าแรก] [เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล] [ ภาษาสมัยพุทธกาล][ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/พงศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] |
||
โปรดโหวตและดูผลการสำรวจ คลิ้ก โหวตที่ POLLBAGEL โหวตภาษาไทย
โดยรวม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า
พระพุทธอุบัติภูมิไม่ได้อยู่ในอินเดียหรือเนปาล แต่อยู่ในสุวรรณภูมิ คือ ไทย
ลาว เขมร พม่า และมอญ?
Webmaster:
chaiyongusc@gmail.com
|
ตำนาน แม้ว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์ที่ยึดแนวตะวันตกว่า เป็นเอกสารที่อ้างอิงได้ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ตำนานส่วนใหญ่เป็น "มุขปาฐะ" หรือ "Oral Tradition" ที่บรรพบุรุษได้เล่าเรียงต่อกันมา แม้จะมีการแต่งเติมบ้าง ก็เชื่อว่า แก่นของเรื่องยังมีให้เห็นพอที่เราจะใช้สืบสาวเรื่องราวหาหลักฐานทางรูปธรรมมาสนับสนุนได้ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพงศาวดารเหนือและใบจารลาว/อิสาน ได้อ้างอิงหลักฐานการเกิดพระธาตุและ เจดีย์ต่างๆ ไว้มากมาย ในพงศาวดารเหนือ เรื่องราวที่พบมากที่สุดเกี่ยวโยงกับพุทธประวัติ และการเกิดขึ้นของเมืองต่างๆ เช่น โยนกเชียงแสน และการที่พระพุทธองค์ พร้อมกับ พระยาอโศก(คนละองค์กับพระเจ้าอโศกมหาราช) กับพระอานนท์ หรือพระเถระองค์อื่นเสด็จไป ณ ที่ต่างๆ ได้ประทาน พระเกศาให้เจ้าเมือง หรือชาวบ้านเก็บไว้บูชาพร้อมกับพยากรณ์ว่า ที่แห่งนั้นในอนาคต จะเกิดอะไรขั้น มีใครมาครอง แล้วจะเป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุเจดีย์ หรือวิหารชื่ออะไร ดังปรากฏ ในตำนานพระเจดีย์แต่ละแห่ง ส่วนในใบลานจารของลาว ก็มีการเอ่ยชื่อ เมืองที่ปรากฏในพระไตรปิฏก เช่น เมืองคันธาง เมืองสาเกต (ร้อยเอ็ด) เมืองปาวาย (เมืองโบราณริมแม่น้ำปาว) และกรุงกบิลพัสดุ์
|
หลังจากตั้งเมืองใหม่ตามคำแนะนำของฤษีกบิลซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า ได้มีกษัตริย์ปกครอง ๘%,๐๐๐ องค์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นนครพิชัยเชตุดรในสมัยพระเวชสันดร หลังจากมีกษัตริย์ปกครอง ๑๖๓,๐๐๐ องค์ก็เปลี่ยนกลับมาเป็นกรุง กบิลพัสดุ์อีก ซี่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นจังหวัดอุดรในปัจจุบัน หรือ อาจจะเป็น อำเภอ "หล่มสัก" (สืบเนื่องจากวงศ์สักยะล่มสลายเพราะพระเจ้าวิฑูทัภภะ แห่งเมืองสาวัตถี หลังจากชิงราชสมบัติจากพระราชาปเสนทิโกสล แล้วก็ยกกองทัพไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตายสิ้นยกเว้นพระเจ้ามหานามที่กระโดดน้ำตายแต่พญานาคช่วยนำไปดูแลที่นาคพิภพ) ชาวลาวและชาวอิสานเชื่อกันต่อเนื่องกันมาว่า พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากพระเวสสันดร ดังจะเห็นได้จากการฉลองงาน "บุญผะเหวด" ยิ่งใหญ่กว่าทุกภาค และประเพณี "ผีตาโขน" (ผีตามคน) ที่เล่าต่อกันมาตั้งแต่สมัยพระเวสสันดร ที่หนีไปบำเพ็ญเพียรในป่าหิมพานต์ (ภูพาน) ภายหลังพระราชบิดาคือพระเจ้ากรุงสัญชัยและพระนางผุสดี ไปอัญเชิญพระเวสสันดรกลับไปครองเมือง ทำให้เทวดา อมนุษย์ในป่าหิมพานต์ เสียใจคร่ำครวญเดินทางไปส่งถึงเมืองสีพี (เลยในปัจจุบัน) จึงเรียกว่า ผีตามคน ภายหลังก็เพี้ยนเป็น "ผีตาโขน" เพราะสำเนียงลาวแบบหลวงพระบางของชาวเลย เมื่อพระเวสสันดรเดินทางมาถึงเมืองสีพี เทวดาและอมนุษย์ก็ดีอกดีใจกระโดดโลดเต้น ร้องรำทำเพลง จึงเกิดเป็นสองอารมณ์ จนเกิดเป็นประเพณีผีตาโขนจนถึงทุกวีนนี้ นักท่องเที่ยวที่สวมหัวโขนหรือหน้ากากจึงเกิดอารมณ์เหมือนถูกผีเข้า ร้องห่มร้องไห้ ร้องรำทำเพลง จนลื่อลั่นปัจจุบัน
ประเพณีผีตาโขน จังหวัดเลย
หลักฐานอีกประการหนึ่งที่ยืนยันว่า พระเวสสันดรและพระนางมัทรีอุบัติขึ้นในอุดร (กรุงกบัลพัสดุ์และกรุงสัญชัย หรือพิชียเชตุดร) และอำเภอด่านซ้าย (กรุงเทวทหะ) ในจังหวัดเลยก็คือพิธีแห่ "ผีตาโขน" จากหนังสือ "กินนรี" ของการบินไทย หน้า ๔๑ เขียนว่า ผีตาโขน ...มาจาก "ผีตามคน" ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อพระเจ้ากรุงสัญชัยกับพระนางผุสดีไปเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับเมือง ขบวนแห่เข้าเมืองมีคนป่าที่เคยปรนนิบัติและเคารพรักพระเวสสันดรร่วมขบวนมาส่งด้วย ต่อมาก็เพี้ยนเป็น ผีตาขน และ ผีตาโขนในที่สุด.. |
ขอเชิญท่านแสดงความคิดเห็นโต้แย้งและคัดค้านในเว้ปบอร์ด
อ่านข้อเขียนหรือบทความพิเศษ
|
หลังจากศึกษาข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้แล้ว ก่อนออกจากเว้ปนี้ โปรดโหวตก่อนออกด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง