[เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล][ ภาษาสมัยพุทธกาล] <<<[หน้าบ้าน] [ ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/งศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] <<<[หน้าแรกภาษาไทย]  

 

 

 

 

 

 

สภาพภูมิอากาศในสมัยพุทธกาล

สภาพภูมิอากาศ ที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกตรงกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมากกว่าที่เนปาลและอินเดีย

ในเนปาลในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหลายประการที่เกี่ยวกับปราสาท 3 ฤดู ช่วงเวลา เข้าพรรษา และระยะทางจากเมืองต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระสูตร และตามที่เป็นจริง 

ปราสาท 3 ฤดู ตามพุทธประวัติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถเจริญวัย พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท 3 ฤดู คือ ปราสาทฤดูร้อน ปราสาทฤดูฝน และปราสาทฤดูหนาว

แต่เมื่อดูที่ตั้งดินแดนที่อ้างว่าเป็นที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุแล้ว ปรากฏว่า อยู่เหนือเส้นขนานที่ 24 จัดอยู่ในเขต Tropic of Cancer ซึ่งมี 4 ฤดู ประเทศเนปาลตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัยซึ่งโดยทั่วไปจะมีอากาศเย็น ดังนั้นกรุงกบิลพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาท 3 ฤดูจึงไม่น่าจะอยู่ใน ประเทศเนปาล

ช่วงฤดูเข้าพรรษา ตามพระวินัยกำหนดให้พระอยู่ประจำพรรษา 3 เดือนในช่วงเดือนสิงหาคม-กลางเดือนตุลาคม แต่ในเนปาล และอินเดียตะวันตก จะมีฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ดังนั้นการกำหนดช่วงเข้าพรรษา  จึงน่าจะไม่ใช่กำหนดตาม  สภาพ ภูมิศาสตร์ในเนปาลหรืออินเดียตะวันตก แต่น่าจะกำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของไทย ลาว เขมร พม่า และมอญ ในปัจจุบัน เพราะแม้เหตุการณ์จะผ่านไปกว่าสองพันปีช่วงเวลาเข้าพรรษาก็ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพระวินัย

 

 

สภาพภูมิอากาศในสมัยพระพุทธกาล

ระยะทางในสมัยพระพุทธกาล

 เขตหนาว Tropic of Cancer

ในอินเดีย ตักสิลา (ปากิสถานตะวันตก) คันธาระ กบิลพัสดุ์ (เนปาล) และเมืองใกล้เคียงตั้งอยู่เหนือเส้นขนานที่ ๒๔ จัดอยู่ในเขตหนาว (มี ๔ ฤดู)

 

อ่านภาพถ่าย

 

 

 

 

 

ขอเชิญท่านแสดงความคิดเห็นโต้แย้งและคัดค้านในเว้ปบอร์ด

WEB BOARD

 

อ่านข้อเขียนหรือบทความพิเศษ

SPECIAL ARTICLES

หลังจากศึกษาข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้แล้ว ก่อนออกจากเว้ปนี้ โปรดโหวตก่อนออกด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง

โปรดคลิกที่นี่


Webmaster: chaiyong@iname.com