[เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล][ ภาษาสมัยพุทธกาล] <<<[หน้าบ้าน] [ ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/งศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] <<<[หน้าแรกภาษาไทย]

 

  

 


 

จาก "สังคีติยวงศ์"

ประมวลภาพถ่ายเอกสารสำคัญที่แสดงว่า ชมพูทวีปอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ-คำนำ "สังคีติยวงศ์" โดย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

พระโมคลีบุตรเถระส่งพระภิกษุไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน  หน้า ๕๖-๖๑ ได้ส่งพระมัชฌัตติกเภระ ไปยังเมือง "กัสมีร" ใน "คันธารราษฎ์" (คันธารราฐ) ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ชาวอินเดียทึกทักเอาว่า เป็น Kashmir จึงระบุว่า คันธาระ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย แต่ไม่ดูบริบทว่า กัสมีร เป็นเมืองที่อยู่ใกล้มหาสมุทร และแผ่นดินด้านล่างเป็นนาคพิภพ

โดยบัญชาพระโมคลีดิสบุตรเถระ พระมหินทเถระได้เดินทางไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกา และได้ตรัสบอกพระเจ้าเดวัมปิยดิสสะว่า พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในชมพูทวีป

พระสังฆอมิตตาเถรี ทรงนำกิ่งโพธิ์ไปประดิษฐาน ณ ศรีลังกา โดยส่งไปทางเรือจากปาตาลีบุตร ส่วนพระเถรีเดินทางผ่านดงพระยาไฟ

 พระพุทธโฆษาจารย์กับพระพุทธทัตไปแปลพระไตรปิฏกจากภาษาสิงหลแล้วนำพระธาตุมาประดิษฐานไว้ในชมพูทวีป

ที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ คือ ไตรทสปุระ (ดาวดึงส์) นาคพิภพ คันธารวิสัย และเกาะลังกา (ไม่มีระบุว่า มีพระเขี้ยวแก้วอยู่ในเมืองจีน)

หลักฐานยืนยันว่า คำว่า "ปัฏฏนะ" หมายถึงท่าเรือ เช่น ท่าปัฏฏนะของปาตาลีบุตร ซึ่งทำให้พวกอินเดียและฝรั่งทึกทักเอาว่า เมือง Patna ของอินเดีย คือ ปาตาลีบุตร

 ข้อความในหน้า ๒๘๒ ที่บ่งบอกชัดเจนว่า สยามประเทศอยู่ในชมพูทวีป

 

จาก "พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับราชบัณฑิต"

พระมหาจักรพรรดิ์มีพระราชสารสงบศึกษาและขอพระราชโอรสคืน โดยเขียนว่า "...ขอจำเริญทางพระราชไมตรีมายังสมเด็จพระเจ้าหงษาวดี ผู้มีอิศรภาพใหญ่ยิ่งกว่าขัตยราชสามนต์ในชมพูทวีป...."

 แสดงว่า กุรุราฐ และอินทปัตถ์ คือ กัมพูชา หรือกัมพูชาตั้งอยู่ในกุรุรัฐ (เกาะทราย หรือแดนทราย) ไม่ใช่อยู่ในประเทศอินเดีย

 กรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะมีทะเลล้อมรอบ  เมื่อพระเข้าทรงธรรมทรงพบพระพุทธบาทได้ทรงเสด็จโดยทางเรือ และได้สร้างตำหนักที่ท่าเรือ ฝั่งทะเลน่าจะคลุมบริเวณกว้าง พระนเรศวรในคราวเสด็จไปตีกรุงหงสาวดีต้องใช้เวลาเสด็จทางชลมารค ๕ วันจึงถึงกาญจนบุรี ฝั่งตะวันออกคงเรียบมาถึงปทุมธานีจึงมีท่าเรือที่เรียกว่า ตำบลท่าโขลง

จาก .ประกาศเทวดา ในคราวสังคายนาพระไตรปิฎก" พ.ศ.๒๓๓๑ (รัชกาลที่ ๑)

ประกาศโองการเทวดา สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. ๒๓๓๑ สมัยรัชกาลที่ ๑

ภาพปกหนังสือ "สังคีติยวงศ์" โดย สมเด็จพระวันรัตน์ (แก้ว) วัดพระเชตุพน นิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ ในรัชกาลที่ ๑ เป็นหนังสือ "ประวัติพระพุทธศาสนา" และ "ประวัติชมพูทวีปฉบับพิศดาร" ฉบับสุดท้าย จารึกลงใบลาน ก่อนที่จะมีคติที่ว่า พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ในฮินดูสถาน (อินเดียโบราณ) ตามที่ Sir Alexander Cunningham เผยแพร่ ทำให้ทั่วโลกเขื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นชาวอินเดีย และ เข้าใจว่า ชมพูทวีปคือ ฮินดูสถาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



FastCounter by LinkExchange
Updated:  May 2003



Webmaster:  chaiyong@iname.com