|
[เหตุแห่งความสงสัย][พุทธโบราณสถาน][ภูมิศาสตร์][พุทธสถาปัตยกรรม][วิถีชีวิตในพุทธกาล][ภาษาสมัยพุทธกาล] <<<[หน้าบ้าน] [ ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/พงศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] <<<[หน้าแรกภาษาไทย] |
|
|
โปรดโหวตและดูผลการสำรวจ
คลิ้ก โหวตที่ POLLBAGEL โหวตภาษาไทย
Webmaster:
chaiyongusc@gmail.com
|
วิถีชีวิตของบรรดาพระภิกษุ พระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และชาวบ้านชาวเมืองดังที่ปรากฏใน พระไตรปิฎกกับ กับวิถีชีวิตชาวอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน มีหลายอย่างที่ขัดแย้งกัน อาทิ ความใจกว้าง ความใจบุญ อาหารการกิน พืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นต้น นิสัยใจคอของชาวอินเดีย ในกลุ่มคนไทยเป็นที่รู้กันเมื่อถามว่า เห็นแขกและงู คนไทยจะ ตีอะไรก่อน คำตอบก็คือ ตีแขกก่อน ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะ แขกที่คนไทยรู้จัก เป็นคนอย่างไรย่อมเป็นที่เข้าใจกัน ดังนั้น เมื่ออ่านพบว่า มีเรื่อง เศรษฐีใจ บุญ ที่ตั้ง โรงทานแจกทาน คนยากจน สร้างมหาวิหารถวายพระพุทธองค์ ปรากฏในพระไตรปิฎก เช่น อนาถปิณฑิก(มหาอุบาสก) เศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี (ตำบลสาวะถี ขอนแก่น) หรือ เศรษฐีธนัญชัยบิดาของนางวิสาขามหาอุบาสิก ที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุญาตให้อพยพมาอยู่แคว้นโกศลตามคำขอของพระราชาปทีปเสนธิโกศล และได้มาสร้างเมืองสาเกต(ร้อยเอ็ด) ฯลฯ ก็น่าจะยอมรับได้ว่า ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมินี่เอง ข้าวที่บริโภคในสมัยพระพุทธกาล สิ่งที่พระภิกษุไทยแปลกใจมาก ก็คือ พระพุทธองค์ เสวยข้าวเหนียว ทั้งนี้ รวมทั้งข้าวปธุปายาส (ข้าวทิพ) และข้าวยาคู ก็ทำจากข้าวเหนียว
คำว่า "ในบ้าน"
ดังปรากฎอยู่ในเรื่องราวต่างๆ ในพระไตรปิฎก หมายถึง "ในหมู่บ้าน"
เป็นคำที่ชาวอิสาน ใช้กันแม้ในปัจจุบันนี้ เช่น "แม่ใหญ่จะเข้าไปในบ้าน
เพื่อซื้อหมากพลู...."
อยากทราบว่า อินเดียใช้ในความหมาย อย่างนี้หรือไม่ ใครทราบช่วยบอกด้วย
|
ในประเทศไทย ลาว เขมร พม่าและมอญ การดำเนินชีวิตกลมกลืนกับเรื่องราวในพระไตรปิฎก คนถิ่นนี้ โดยเฉพาะคนไทย-ลาว จึงอ่านเรื่องราวในชาดก หรือพระสูตร อย่างเข้าใจ เพราะไม่มีอะไรขัดแย้งกับที่เคยพบเห็นในอดีตหรือปัจจุบัน พืชพันธุ์ธัญญาหาร มากกว่า ๒๖๔ ชนิดที่ได้กล่าวถึงในพระไตรปิฎกเป็นพืชท้องถิ่นของสุวรรณภูมิ อาทิ "หญ้ากับแก้" หญ้าชนิดหนึ่ง ที่พระพุทธองค์เสวยแทนอาหาร เมื่อครั้งแสวงหาสัจธรรม (หญ้ากับแก้ เป็นภาษาอีสาน ภาษากลางคือ หญ้าตุ๊กแก) หลังจากที่ทรงอดพระยาหาร จนผมหนังติดกระดูก พระองค์จึงเริ่มเสวยดูดน้ำจากหญ้ากับแก้นี้ก่อน หลังจากนั้นก็เสวยผลกะเบา แล้วจึงเสวยพระกระยาหารปรกติ "ลูกกะเบา" ก็เป็นพืชที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ลูกกะเบาใช้รักษาโรคเรื้อนได้ "เล็บเหยี่ยว" (ลูกเล็บแมวของอิสาน) พระพุทธองค์อนุญาตให้นำมาทำเป็นน้ำปานะได้ "ชมพู" คือลูกหว้าชมพู ซึ่งเป็นลูกหว้าขนาดใหญ่ มีสีและขนาดเหมือนลูกเชอรี่ ประเทศอินเดียมีลูกหว้าขนาดใหญ่กว่าหว้าชมพู แต่ชาวอินเดียไม่ได้ใช้คำว่า "ชมพู" เป็นชื่อเรียกลูกหว้าชนิดนั้น
|
พระพุทธองค์และพระภิกษุสมัยพระพุทธกาลเสวยข้าวเหนียว ข้าวเหนียวมาในพระไตรปิฎก: ทำนาข้าวเหนียวในเมืองโกสัมพี และเมืองสาวัตถี พระพุทธองค์และพระภิกษุในสมัยพระพุทธกาลเสวยและฉันข้าวเหนียว ทีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง กล่าวคือ อรรถกถาวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค วินัยปิฎกเล่มที่ 2 มหาวิภังค์ ทุติยภาค และวินัยปิฎกเล่มที่ 3 ภิกขุนีวิภังค์ โดย อาตม ศิโรศิริ |
หลังจากศึกษาข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้แล้ว ก่อนออกจากเว้ปนี้ โปรดโหวตก่อนออกด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง
Webmaster: chaiyong@iname.com