เมื่อได้ยินคำว่า "ข้าวทิพ" พวกเราส่วนใหญ่คิดว่า เป็น "ข้าวทิพย์" หรือ ข้าวที่เทวดาปรุง เพื่อจะได้มีอายุมั่นขวัญยืน

ที่จริงแล้ว ข้าวทิพ เป็นข้าวสำเร็จรูปที่ทำจากข้าวเหนียว โดยสตรีชาวเมืองทองคนหนึ่งชื่อ นางสาวทิพพา ในสมัยพระเจ้าตะวันอธิราชแห่งเมืองทอง ประมาณพ.ศ. ๒๕๐-๖๐  จากการถอดจารึกกระเบื้องจารที่คูบัว ของพระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต) แห่งวัดโสมนัสวิหาร ปรากฏหลักฐานดังนี้ (เลขที่อยู่ในวงเล็บเป็นหมายเลขกระเบื้องจาร/หน้า ที่บันทึก)

ต้นเรื่องข้าวทิพ

   ทองบัณฑิต  ได้เปนสิสของโสณ  อุตตร  เสาะหาวิธีหุงข้าวลือชื่อ  มธุปายาสไทย  (มธุปายาส = ข้าวดื่มน้ำผึ้งน้ำนม)  โดยมี  ถั่ว  งา  น้ำผึ้ง  น้ำต้นอ้อย  น้ำต้นโตนด  และกะทิ (๔๗๘/๑)

    ทองบัณฑิต หุงข้าวมธุปายาสทัยย (ไทย)  มีแม่นางทองดี  (ลูก)  สาวทิพพา  หาม่อคั่วข้าวตอก  (ข้าว)  ตาก  ข้าวเม่า  ข้าวฟ่าง  ข้าวโพด  ข้าว ลมาน  ถั่ว  งา  เคี่ยว  น้ำอ้อย  น้ำผึ้ง  ผสมนม  (งัว)  หุง  เคี่ยวตลอดคืน  เช้า  สาย  เอา  (เป็น)  ปิณฑ  ถวายต้น-ต้นโสณ  ฉันรวมสงฆอนุโมทนาว่า  ทองบัณฑิต  แล  (๔๗๕/๒)

    ทองบัณฑิต  ปรุงมธุปายาสไทย  เดือนอ้าย  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  ปี  (พุทธกาลล่วงแล้ว)  ๒๕๗  เมื่อปี  ๒๕๘  มีคนนำถั่วงามามาก  หาทิพพามาขั้ว  ถั่ว  งา  ข้าวเม่า  ข้าวตอก  เคี่ยว  น้ำผึ้ง  (น้ำ)  อ้อย  ผสม  ชื่อ  พุทธคยา  (หรือ  คยาสาด)  (๔๗๙/๑)

     ทิพพาสาว  เอาส่วนมธุปายาส  ค้อม  (พระ)  มหาเถรโสณ  ฌานีย  ภูริย  อุตตร  มูนีย  มหาเถร  ๕  ว่า  “ข้าวสาวทิพพา”  “ข้าวสาวทิพ”  ต่อมา  มีชื่อตามสาวทิพพา  (ว่า)  ข้าวสาวทิพพา  (หรือ  “ข้าวทิพ”)  (๔๗๙/๒)

      ตวันอธิราช  เห้า(ให้)ทองบัณฑิตมาเว้าข้าวขนมควน  (สะ)  สมสุทธิเห้าพอ  ภายหน้ามีศึกมาทั่ว  (จัก)  พร้อมสู้  ข้าว  (ขนม)  นี้  แช่น้ำพองขึ้นได้  กินน้ำปกอบอิ่มทน  กินเปน  (ได้)  ทั้งคาว  หวาน  (๔๘๒/๑)

      บัณฑิตทอง  ตัวตวันอธิราชพาสิริงามตัวมาหา ให้ดูข้าวมธุ  (ปายาส)  เอาเตรียม  สสมสเบียงไว้เพื่อศึกข้างหน้า  ให้ทำพุทธกาล  ๒๕๘  งามตัวเอาเข้าห่อ  กาบไผ่อัดแน่น  (๔๘๒/๒)

      ทองบัณฑิต  อยู่กินกับเมียชื่อทิพพา  มีลูกคนญิง  วันขึ้น  ๑๕  (ค่ำ)  เดือน  ๕  พุทธ (๑))  เนา  ไทยลว้า  ลาวเดิม  ใน  ฯ   (๒)  ตามคำนวณ  น่าจะเป็นปีกุนฯ กาล  (ล่วงแล้ว)  ๒๖๑  ปี  ให้ชื่อ  ทองคำ  (บัณฑิตทอง)  ว่ามีลูกญิงจะได้  (เป็นดอกไม้สวยงามประจำบ้านแล้วจะได้)  แต่งงาน  (๔๘๑/๑)

        ทองบัณฑิต  อยู่กินด้วยทิพพา  ทำสวน  นา  สินได้  มี  (ลูก)  ผู้ชาย  เดือน  ๖  ขึ้น  ๑๑  ค่ำ  ปี  ๒๖๓  มีชื่อว่า  ทองสองสี  แม่ไปล่ว่า  ไทยทิพ   จึงชื่อไทยทิพ  บัณฑิต  (ทอง)  ว่า  (มี)  ลูกผู้ชายไว้  ปัพพัชชา  (ปวัชชา  บวช)  (๔๘๑/๒)

 [กลับไปหน้าแรก] [เหตุแห่งความสงสัย] [พุทธโบราณสถาน]  [ภูมิศาสตร์]   [พุทธสถาปัตยกรรม]      [วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล]      [ภาษาในสมัยพระพุทธกาล]     [ขนบธรรมเนียมประเพณี]         [ตำนานและพงศาวดาร]   [ข้อสังเกตอื่น]

 

พระพุทธองค์และพระภิกษุสมัยพระพุทธกาลเสวยข้าวเหนียว

ข้าวทิพ (ความหมายและที่มา)

 

 

 

 

 

 

 


FastCounter by LinkExchange
Updated:March, 2003

Webmaster: chaiyong@iname.com