[เหตุแห่งความสงสัย] [ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในสมัยพุทธกาล][ ภาษาสมัยพุทธกาล] <<<[หน้าบ้าน] [ ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/งศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] <<<[หน้าแรกภาษาไทย]

 

 

 

 

ระยะทางระหว่างเมืองตามที่ระบุในพระไตรปิฎกและในอินเดีย

 เมื่อพิจารณาระยะทางตามความเป็นจริงก็จะเห็นว่า ขัดแย้งกับที่ระบุในพระไตรปิฎก อาทิ

๑) ราชคฤห์ห่างจากตักสิลา 90 โยชน์ ก็จะเป็นระยะทางประมาณ 1440 กิโลเมตร (1 โยชน์=16 กิโลเมตร) แต่ในความเป็นจริง ตักสิลาอยู่ทาง ตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบัดในปากีสถานซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่าสองพันห้าร้อยกิโลเมตร แต่ถ้าเป็นราชคฤห์ตามความเชื่อ ของไทยแต่เดิมที่อยู่ทางเหนือของเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือแล้ว (ที่เรียกว่า ห้อหลวงแล้ว) ก็มีความเป็นไปได้มาก

๒) กรุงพาราณสีห่างจากตักสิลา ๑๐ โยชน์ เป็นระยะทางประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร แต่ถ้าเทียบกับตักสิลาซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ กรุงอิสลามาบัดในปากีสถานซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่าพันห้าร้อยกิโลเมตร ก็ยืนยันทันทีว่า คนละเมืองแน่นอน

จึงเห็นได้ว่า หากพิจารณาระยะทาง ที่เป็นจริงในอินเดีย กับที่ปรากฏในพระไตรปิฏกแล้ว ไม่มีที่ตรงกันเลยแม้แต่จุดเดียว แต่มรเมืองไทยที่ตรงกับพระไตรปิฎกมีหลายกรณี อาทิ

(๑)ระยะทางระหว่าง เมืองตาก(อำเภอบ้านตาก) ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นตักสิลา และเชิงเขาใหญ่ (บริเวณกลางดง ของอำเภอปากช่อง) ซึ่งเชื่อว่า เป็นที่ตั้ง กรุงพาราณสี แล้ว ระยะทางประมาณ ๑๐ โยชน์ (๑๖๐ กิโลเมตร)  มีความเป็นไปได้สูง

(๒) ระยะทางระหว่างเมืองสาวัตถี ถึงเมืองสาเกต ๗ โยชน์ (๑๑๘ กิโลเมตร) ก็ตรงกับระยะทางระหว่างร้อยเอ็ด กับตำบลสาวะถี จังหวัดขอนแก่น ในปัจจุบัน

(๓) ที่ตั้งของเมืองในอินเดีย กับพระไตรปิฎกไม่ตรงกัน  จะเห็นได้จากการเดินทางจากกุสินารา ไปกรุงราชคฤห์ของพระอานนท์ ซึ่งท่านพระอานนท์เถระถือเอาบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม มีความประสงค์จะเดินทางผ่านกรุงสาวัตถีไปยังกรุงราชคฤห์ ก็หลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี....เพื่อให้ทันเข้าพรรษาซึ่งเหลือเวลาไม่กี่วัน แสดงว่า กรุงสาวัตถีอยู่ระหว่างเมืองกุสินารากับราชคฤห์ แต่ในแผนที่อินเดีย สาวัตถี กับราชคฤห์ อยู่คนละฟากกัน คือ สาวัตถีอยู่ทิศเหนือ ส่วนราชคฤห์อยู่ทิศใต้ที่รัฐ Bihar (ข้อสังเกตจากคุณอาตม ศิโรศิริ)

อย่างไรก็ตามที่ตั้งของเมืองต่างๆ ได้ยึดตามเอกสารของพระธรรมเจดีย์(ปาน) แต่ยังไม่เป็นข้อยุติ เนื่องจาก ทีมคณะผู้วิจัยต่ละทีมยังไม่ได้ข้อยุติที่ตรงกัน ในเบื้องต้น พวกเราทุกทีมต่างมุ่งพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า ชมพูทวีปและพระพุทธอุบัติภูมิอยู่ในดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่า สุวรรณภูมิ

 

สภาพภูมิอากาศในสมัยพระพุทธกาล

ระยะทางในสมัยพระพุทธกาล

 

อ่านภาพถ่าย

 

 

 

 

 

ขอเชิญท่านแสดงความคิดเห็นโต้แย้งและคัดค้านในเว้ปบอร์ด

WEB BOARD

 

อ่านข้อเขียนหรือบทความพิเศษ

SPECIAL ARTICLES

หลังจากศึกษาข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้แล้ว ก่อนออกจากเว้ปนี้ โปรดโหวตก่อนออกด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง

โปรดคลิกที่นี่


Webmaster: chaiyong@iname.com