ใหม่!!! เอกสารโบราณตำนานสิงหนวัติกุมาร
ยืนยันว่า ราชคฤห์ คือ "นครไทยเทศ"
อยู่ทางภาคเหนือของไทย
ตำนานสิงหนวัติกุมาร
(เรียบเรียงจาก อุดม รุ่งเรืองศรี )
เมื่อเจ้าชายสิงหนวัติกุมาร
โอรสพระเจ้าเทวกาลแห่งนครไทยเทศ คือเมืองราชคฤห์ อพยพผู้คนออกจากเมืองราชคฤห์
ไปทางทิศอาคเนย์ (โปรดดูแผนที่ประเทศไทย
เชียงรายอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเชียงใหม่)
เพื่อตั้งบ้านแปงเมืองใหม่ตามพระบัญชาของพระราชบิดา
เดินทางไปถึงชัยภูมิของพระยานาคชื่อพันธุนาคราช
เคยเป็นที่ตั้งของแคว้นสุวรรณโคม
เจ้าชายสิงหนวัติราชกุมารได้พบกับพันธุนาคราช ซึ่งแปลงกายเป็นพราหมณ์
ได้แนะนำให้เจ้าชายสิงหนวัติตั้งเมืองอยู่ในที่นั้น
ตกกลางคืนพระยาพันธุนาคนาตราชได้ขุดแผ่นดินให้เป็นคูเมือง
เจ้าชายสิงหนวัติจึงตั้งเมืองในที่นั้น และตั้งชื่อเมืองว่า
เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร จากนั้นอีก 3 ปี
เจ้าชายสิงหนาวัติก็ได้แผ่อำนาจปราบปรามหัวเมืองต่างๆ ในเขตนั้น
และปราบได้ล้านนาไทยทั้งมวล
ในสมัยพระเจ้าสิงหนวัติ ทรงครองราชย์สมบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จมาโปรดพระเจ้าสิงหนวัติ
ช้างตัวหนึ่งเห็นพระพุทธเจ้า เกิดปีติจึงส่งเสียงร้อง (ช้างแส่น)
คือเมืองโยนกจึงได้ชื่อว่า เชียงแสน
ถัดจากรัชสมัยของเจ้าสิงหนวัติแล้ว
กษัตริย์องค์ต่อมา คือ โอรสของพระเจ้าสิงหนวัติ คือ พระยาพันธนติ
ถัดจากพระยาพันธนติ ก็คือ พระยาอชุตราช องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้เส็ดจมาโปรดพระยาอชุตราช อีกครั้ง
และเมืองนี้ก็เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น
พระยาอชุตราชขอนางปทุมวดีจากกัมมโลฤาษี มาเป็นมเหสี
ยุคนี้มีการสร้างพระธาตุดอยตุงและพระธาตุดอยกู่แก้ว
กษัตริย์องค์ต่อมาคือพระมังรายนราช โอรสของมังรายนราช คือองค์เชืองนั้น
ครองเมืองเดิม ส่วนโอรสชื่อไชยนารายณ์ไปตั้งเมืองใหม่ ชื่อไชยนารายณ์เมืองมูล
เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแสนก็มีกษัตริย์ปกครองต่อๆ กันมาจนถึง
จ.ศ.279 (พ.ศ.1460)จึงเสียแก่พระยาขอมแห่งเมืองอุโมงค์เสลานคร
กษัตริย์ของเมืองโยนกฯคือ พระองค์พัง ถูกขับให้ไปอยู่ที่เวียงสี่ทวงถัดจากรัชสมัยของเจ้าสิงหนวัติแล้ว
กษัตริย์องค์ต่อมา คือ โอรสของพระเจ้าสิงหนวัติ คือ พระยาพันธนติ
ถัดจากพระยาพันธนติ ก็คือ พระยาอชุตราช องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้เส็ดจมาโปรดพระยาอชุตราช อีกครั้ง
และเมืองนี้ก็เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น
พระยาอชุตราชขอนางปทุมวดีจากกัมมโลฤาษี มาเป็นมเหสี
ยุคนี้มีการสร้างพระธาตุดอยตุงและพระธาตุดอยกู่แก้ว
กษัตริย์องค์ต่อมาคือพระมังรายนราช โอรสของมังรายนราช คือองค์เชืองนั้น
ครองเมืองเดิม ส่วนโอรสชื่อไชยนารายณ์ไปตั้งเมืองใหม่ ชื่อไชยนารายณ์เมืองมูล
เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแสนก็มีกษัตริย์ปกครองต่อๆ กันมาจนถึง
จ.ศ.279 (พ.ศ.1460)จึงเสียแก่พระยาขอมแห่งเมืองอุโมงค์เสลานคร
กษัตริย์ของเมืองโยนกฯคือ พระองค์พัง ถูกขับให้ไปอยู่ที่เวียงสี่ทวง
ที่เวียงสี่ทวง พระองค์พังได้โอรสที่เก่งกล้า
คือพรหมกุมาร เมื่อพรหมกุมารอายุได้ 16 ปี ก็เสนอให้พระบิดาแข็งข้อต่อขอม
และตัวเองเป็นแม่ทัพเข้าต่อสู้กับพวกขอม
และสามารถขับไล่ขอมไปทางใต้จนถึงเขตเมืองลวรัฐ
พระองค์พังได้กลับเป็นกษัตริย์ในโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสนอีกครั้งหนึ่ง ใน
จ.ศ.299 (พ.ศ.1480) พรหมกุมารต่อมาได้ตั้งเวียงไชยปราการ
และเป็นกษัตริย์ครองเมืองนี้ เมื่อสิ้นพระองค์พรหมราชแล้วโอรส
คือพระไชยสิริก็ได้ครองเมืองต่อมา เมื่อถูกทัพมอญคุกคามเข้ามา
พระองค์ไชยสิริก็พาชาวเมืองอพยพ เมื่อจ.ศ.๒๖๖ (พ.ศ.1547)
ลงไปทางใต้และไปตั้งเมืองอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร
ในเมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสนนั้นมีกษัตริย์เสวยเมืองต่อมา
จนถึงสมัยพระองค์มหาชัยชนะ และในปี จ.ศ.467 (ที่ถูกควรเป็น 376 พ.ศ.1558)
ชาวเมืองจับปลาตะเพียนเผือกยักษ์ (ควรเป็นปลาไหลเผือกยักษ์)
จากแม่น้ำกกแล้วแบ่งกันกินทั่วเมือง
และในคืนนั้นเมืองโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแส่นก็ล่มลง
กลายเป็นหนองน้ำใหญ่
ขุนพันนาและนายบ้านทั้งปวงพร้อมใจกันเลือกนายบ้านผู้หนึ่งชื่อขุนลัง
เป็นหัวหน้าของชนกลุ่มนั้นช่วยกันสร้างเวียงปรึกษาขึ้นที่ริมแม่น้ำโขงฝั่งตะวันตก
และอยู่ทางตะวันออกของเวียงโยนกเดิม นับเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์กษัตริย์
นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์พบว่า
มีเมืองใหญ่สองเมืองที่มีภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบ คือเชียงใหม่ และราชคฤห์
ในจำนวนภูเขาห้าลูก มีชื่vซ้ำกัน คือเวภารบรรพต
ปัจจุบันคืออำเภอแม่ริมที่ตั้งของพระพุทธบาทสี่รอย
และเป็นที่สังคายนาพระไตรปิฎกที่มีพระมหากัสสปะเป็นประธานที่ถ้ำสัตตบรรณ
หรือสัตบรรณคูหา คือถ้ำที่ภูเชียงดาว ที่มีขนาดใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคน.
ตำบลสาวัตถีน่าจะเป็นเมืองสาวัตถีในสมัยพระพุทธกาล
เมืองโบราณจะเหลือร่องรอยไว้ให้สำรวจคือ
มีเนินดินสูงกว่าระดับพื้นดินทั่วไป
นักโบราณคดีจะใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการสำรวจหาโบราณสถานและโบราณวัตถุ
เพื่อนำไปจำหน่ายให้พิพิธภัณฑ์ เช่น
กรณีของนักโบราณคดีอังกฤษและเยอรมันเป็นต้น
ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นประมาณ ๑๕
กิโลเมตร พบว่ามีบริเวณที่ชาวบ้าน เรียกว่า
"เนินสูง" เป็นบริเวณกว้างใหญ่ และมีคูเมือง
เป็นคลองขนาดใหญ่ล้อมรอบสองชั้น
สันนิษฐานว่า คูเมือง
เป็นคูข้างกำแพงเมืองชั้นในและชั้นนอก
หากมีการขุดสำรวจ
จะต้องพบร่องรอยเมืองสาวัตถีในสมัยพระพุทธกาลอย่างแน่นอน
ในพระไตรปิฎก
สาวัตถีห่างจากเมืองสาเกต (สระเกต) ๖- ๗ โยชน์
(ประมาณ ๑๑๒ กิโลเมตร) ห่างจากโกสัมพี ๓ โยชน์
๔๘ กิโลเมตร ส่วนสาเกตห่างจากโกสัมพี ๖ โยชน์
๙๖ กิโลเมตร
เป็นระยะทางที่สอดคล้องกันระว่างร้อยเอ็ด
(เมืองที่ ๑๐๒ ในกล่มนครสาวัตถึ
ที่มีเมืองใหญ่ ๑๑ เมือง
และเมืองบริวารอยู่นอกกำแพงเมืองชั้นนอก ๙๐
เมือง รวม ๑๐๑ เมือง
เมื่อหลวงพ่อมหากัสสปะ นำพระอุรังตธาตุ
จากพระแท่นดงรัง อำเภอท่ามะกา กาญนบุรี
มาประดิษฐาน ๗ ปี ๗ เดือน และ ๗ วัน
เจ้าเมืองสาเกต
ต้องเปิดประตูเมืองเพิ่มจากเดิม ๑๑
ประตูกำแพงเมืองจึงมี
๑๐๑ประตู สาเกตจึงได้ชื่อ
"เมืองประร้อยเอ็ดประตู" หรือ
"เมืองร้อยเอ็ดทวาร"
อนาถบิณฑิกเศรษฐีและเมืองสาวัตถีอยู่ในภาคอิสาน
เอกสารพระพุทธศาสนาได้ระบุเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์และบุคคล
สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับภาคคะวันออกเฉียงเหนือ
ได้แก่
เรื่องราวของอนาถบิณฑิกเศรษฐีและเรื่องราวอื่นๆ
อีกมากมาย
ข้อมูลจากอาจารย์กมลทิพย์
ประยูรทอง ระบุว่า
อนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี
เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
โดยทำบุญอย่างต่อเนื่อง
"...ทั้งให้ทานแก่คนยากจน
และการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์
จนกระทั้งทรัยพ์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้
ลดน้อยลงไปโดยลำดับ
ทรัพย์ที่หาได้มาใหม่ก็ไม่เท่ากับจ่ายออกไป
ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ก็ลดลง
ทั้งคุณภาพและปริมาณ
จนในที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จำเป็นต้องใช้ข้าวปลายเกวียน
กับข้าวก็เหลือเพียงน้ำ
"ผักเสี้ยนดอง"
ตนเองก็พลอยอดยาก
ลำบากไปด้วย
ถึงกระนั้นเศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์
ได้แต่กราบเรียนให้พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า
ตนเองไม่สามารถจะจัดถวายอาหารอันปราณีตมีรสเลิศเหมือนเมื่อก่อนได้
เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหาพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหารบิณฑบาต
ที่ตระกูลอื่นที่ถวายอาหารมีรสเลิศกว่า....
จากเรื่องข้างต้นยืนยันว่า
อนาถบิณฑิกเศรษฐีและเมืองสาวัตถี
อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแน่นอน
เพราะ "ผักเสี้ยนดอง"
(ผักโหมดอง)
นี้เป็นอาหารอิสาน
และเป็นอาหารหลักของชาวบ้าน
เพราะผักเสี้ยนหรือผักโหมหาได้ง่าย
เกิดขึ้นตามสวนโดยไม่ต้องปลูก
ชาวบ้านจึงนิยมนำมาทำเป็นผักดอง
เพื่อบริโภค ยามยากไร้
ก็ใช้ข้าวเหนืยวรับประทานกับผักเสี้ยนดองและ
"แจ่ว" (น้ำพริก)
ก็ประทังชีวิตอยู่ได้
นอกจากคำว่า ผักเสี้ยน
แล้วยังมีคำภาษาอิสานอักหลายคำปรากฎในพระไตรปิฏก
อาทิ หญ้ากับแก้ (หญ้าตีนตุกแก)
ลูกกะเบา เป็นต้น
ขอฝากบทความ
"เรากับลูกสองคน"
สำหรับทุกคน
(โปรดคลิ้ก)
หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งปารีส
ยืนยันปฎิทินจันทรคติที่ใช้ในพระพุทธศาสนาอยู่ในประเทศไทยฯ
มิใช่ในอินเดียหรือเนปาล
สงฆ์ออกพรรษาเมื่อปฏิทินเขียนว่าขึ้น
๑๕ ค่ำเดือน ๑๑
ซึ่งเป็นวันเพ็ญ
แล้วถ้าจันทร์ไม่เพ็ญ...สงฆ์ออกพรรษาไม่ได้
ทุรังออกจะอาบัติ
"
หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งปารีส
(Observatoire
de Paris)
ได้แสดงให้เห็นว่า
ปฏิทินพุทธ
ไม่ใช่ปฏิทินอินเดีย
หรือเนปาล
แต่เป็นปฏิทินไทย ลาว
เขมร และพม่า
ข้อค้นพบนี้ส่งมาจากฝรั่งเศส
โดยอาจารย์ศุภกฤษฎิ์
มหารักขกะ ซึ่งให้ข้อมูลว่า
"...สงฆ์จะออกพรรษา
ได้เมื่อปฏิทินเขียนว่าขึ้น
๑๕ ค่ำเดือน ๑๑
ซึ่งเป็นวันเพ็ญ
แล้วถ้าจันทร์ไม่เพ็ญ...
สงฆ์ออกพรรษาไม่ได้
ทุุรังออกพรรษา
จะอาบัติ...."
เพราะฉะนั้นปฏิทินที่สงฆ์ใช้
จะต้อง
(๑)
นับเดือนเป็นตัวเลข
(๒)นับวันเป็น
ขึ้น หรือ แรม และ (๓)
มีการทดแก้ให้
จันทร์จริงบนฟ้า ตรง
กับจันทร์เสมือนในปฏิทิน
(lunisolar
calendar with intercalation)
ในโลกนี้มีเพียงไม่กี่ปฏิทินเท่านั้นที่มีคุณสมบัติครบสามข้อดังกล่าวข้างต้น
จึงเรียกว่า
ปฏิทินพุทธ (Buddhist
calendar) ได้แก่
ไทย ลาว เขมร พม่า
และศรีลังกา ส่วนปฏิทินอินเดียหรือปฏิทินฮินดูซึ่งมีรากฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
เพิ่งมีมาแค่ตั้งแต่
คริสตศตวรรษที่สาม
จึงนำมาใช้ออกพรรษาไม่ได้
เพียงเล็กน้อยในแง่ของจันทร์เต็มดวงจริงในวันออกพรรษา
แต่ก็มีปฏิทิน
ของธรรมยุตินิกายที่
"ไม่มีความคลาดเคลื่อน เลย
เพราะได้รับการทดแก้ไข
ให้ถูกต้องไม่ให้คลาดเคลื่อนโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔
ซึ่งเป็นพระมหากษัตรย์นักดาราศาสตร์
ที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก
โดยได้ทรง
พยากรณ์การเกิดสุริยปราคาที่ตำบลหว้ากอ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้อย่างแม่นยำ
เป็นที่ตะลึงของนักดาราศาสตร์ในสมัยนั้น
ทำไมปฏิทินไทยฉบับ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงมีความถูกต้อง
ทางจันทรคติที่สุด (รอบของ
จันทร์เพ็ญเท่ากับ ๒๙.๕๓๐๕๙๔
วัน)
ทดแก้ยากหรือไม่
อย่างไร
เมื่อเทียบกับวัฏจักรเมตอน (Metonic
cycle)
ฯพณฯ
เดอ ลา ลูแบร์ (Simon
De la Loubère) ทูตฝรั่งเศส
ในพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔
ได้นำสำเนา
เอกสารเกี่ยวกับดาราศาสตร์สยาม
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
กลับไปให้ เมอซิเออร์
กัสซินี
(Cassini)
ผู้อำนวยการหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์
แห่งปารีส (Observatoire
de Paris) ศึกษาได้ข้อสรุป ๔ ประการ คือ
(๑)
ดาราศาสตร์สยาม
เป็นของแท้ไม่ได้รับอิทธิพลหรือนำมาจากอินเดีย
จีน หรือเปอร์เซีย แต่ได้จาก
การคำนวณจากต้นยุคอ้างอิง
(epoch)
(๒)
ดาราศาสตร์สยาม มีความ
แม่นยำสูง และไม่ได้
พิจารณาว่า โลกโคจรรอบ
ดวงอาทิตย์เป็นวงกลม
(๓)
ชาวสยามใช้วิธีคำนวณ
ง่ายกว่าแต่ได้ผลเช่นเดียวกัน
โดยใช้ค่าคงที่ต่างๆ
ที่คำนวณไว้ ก่อนแล้ว
มากกว่าจะใช้สูตร
สำเร็จหรือตั้งสมการ
ใหม่ทุกครั้งไป และ
(
๔)
ชาวสยามท่องสูตรโดยใช้กลอน
ในปัจจุบัน
แม้ปฏิทินไทย ลาว เขมร
พม่าจะยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้างแต่ก็
เป็นความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ของไทยโบราณ
อันเป็นเอกลักษณ์นั้น
สนับสนุนงานค้นคว้าบ้านเชียง
กระเบื้องจารคูบัว
และลบล้าง ซุกแขกแทรกจีน
อย่างยิ่ง
ข้อมูลข้างต้น
ยืนยันว่า พระพุทธศาสนา
เกิดขึ้นในดินแดนทีเป็นประเทศ ไทย ลาว
เขมร พม่า และมอญ
ซึ่งเป็น "ชมพูทวีป"
ตามที่ระบุไว้ในประกาศเทวดา
เมื่อครั้งสังคายนาพระไตรปิฎก
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ.
๒๓๓๑.
พระราชดำรัสพระนารายณ์มหาราชยืนยันชาวไทย
นับถือพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาล
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔
ได้ส่งเอกอัครราชทูตพิเศษ
นำโดย ฯพณฯ ม. เชอวาเลีย
เดอ โชม็อง และบาดหลวงชัวชี
เป็นรองเอกอัครราชทูตร
พร้อมพระโปรดศีลจำนวนหนึ่ง
เพื่อโน้มน้าวพระทัยให้
กษัตริย์สยามเข้ารีตนับถือศาสนาคริสเตียน
ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๒๒๘
โดยที่ฝรั่งเศสเข้าใจผิดว่า
พระองค์มีความเลื่อมใสในศาสนาของพระเป็นเจ้า
เพราะทึกทักเอา จากการ
ที่พระองค์ทรงอนุญาตให้สร้างโรงสวดพระราชทาน
และอนุญาตให้ประกาศศาสนาเป็นต้น
ทั้งๆ
ที่พระสังฆราชและเจ้าพระยาวิชาเยนทร์
ก็ทราบดีว่า
พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อคณะทูตเข้าเฝ้าและทูลขอให้พระองค์เปลี่ยนไปเข้ารีตฯ
สังฆราชและเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็ไม่แปลตรงๆ
แต่เลี่ยงแปลเป็นอย่างอื่น เมื่อ ฯพณฯ เดอโชม็องต์
ทราบก็โกรธจึงเขียนสาสน์กราบทูลแทน
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้เข้าเฝ้า
ณ ที่รโหฐาน
และแปลพระราชสาสน์ถวาย
เมื่อได้ฟังคำแปลถวายอย่างยืดยาว
ได้ตรัสว่า "...การที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเพื่อนรักของเรามาแนะนำการอันยาก
(เปลี่ยนศาสนา)เช่นนี้
และเป็นเรื่องที่เราไม่มีความรู้เลยนั้น
เป็นเรื่องที่กระทำให้เราเสียใจเป็นอันมาก
แต่ขอให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส
ตรึกตรองดูว่า
การที่จะเปลี่ยนศาสนาซึ่งได้เคยนับถือต่อๆ
กันมาถึง ๒๒๒๙ ปีแล้ว
จะเป็นการสำคัญและ
ลำบากสักเพียงไร...."
เวลาที่มีพระราชดำรัสนี้
เป็นเดือนกันยายน ๒๒๒๘
แต่ทรงตรัสว่า
ชาวสยามได้นับถือพระพุทะศาสนามา
๒๒๒๙ ปี
แสดงให้เห็นชัดเจนว่า
ประเทศสยามนับถือพระพุทธศาสนา
มาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์
ทรงพระชนม์อยู่
มิใช่เพิ่งมารับนับถือพระพุทธศาสนาเมื่อมีพระปฐมเจดีย์เมื่อ
พ.ศ. ๓๐๐
หรือรับพระพุทธศาสนาจากศรีลังกามาในสมัยสุโขทัย
เป็นหลักฐานยืนยันว่า
ประเทศสยามนับถือพระพุทธศาสนามาตั้งแต่พระพุทธองค์ยังไม่ปรินิพพาน.
(คลิ้ก
เพื่ออ่านรายละเอียด)
มีหลักฐานยืนยันในพงศาวดารเหนือว่า
บ้านพระโมคัลลานะและพระสารีบุตรอยู่ทางเหนือของไทย
ในพงศาวดารเหนือ
ของพระเชียรปรีชา (น้อย) แสดงชัดเจนว่า
ชมพูทวีปเป็นที่ตั้งของไทยและลาว และมีชื่อเมืองต่างๆ
ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก รวมทั้งที่ระบุว่า
เป็นบ้านเกิดของพระโมคคัลานะและพระสารีบุตร
ในหน้า ๓๒๕
มีระบุพระโมคคัลานะกับพระสารีบุตร อยู่ทางเหนือของไทย
ที่ระบุว่า ...ชะพ่อชีพราหมณ์ทั้งหลายอยู่ในปัญจมัชคาม
อันเป็นหลานแห่งนางโมคคัลลี อันเป็นพระมารดาพระโมคคัลลานะ
และนางสารี เป็นมารดา พระสารีบุตร
อันอยู่ในปัญจมัชคาม
ก็กลายมาเป็นเมืองสวรรคโลก
พระธาตุพระสารีบุตรเจ้าบรรจุไว้ในเจดีย์พระธาตุข้างเหนือ
และพระธาตุพระโมคคัลานะก็บรรจุ
ไว้ในบ้านนางโมคคัลลี
ทั้งสองนางก็เป็นญาติกัน...
อีกตอนหนึ่งในหน้า ๓๒๓ กล่าวว่า พระธรรมราชา
จึงตั้งนางท้าวเทวี อันเป็นหลานสาวแห่งนางโมคัลลี บุตรนายบ้านหริภุญชัย...
เมื่อถึงสมัยพระร่วง
ได้กล่าวถึง
เรื่องเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าอรุณราชกุมาร
ขึ้นเป็นใหญ่ในเมือง
สัชนาลัย พ.ศ. ๑๐๐๐ ปีมะโรง นพศก ในหน้า ๓๒๘
มีความว่า
...ท้าวพระยา
ประเทศเมืองใดๆ
จะทนทานอานุภาพพระองค์ก็หามิได้ มาถวายบังคมทั่ว
สกลชมพูทวีป เพราะพระองค์ต้องต้องพระพุทธทำนาย พระพุทธเจ้า ....
ในหน้า ๓๒๙ กล่าวต่อว่า ...พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย
๕๐๐
พระองค์ทั้งพระพทธโฆษาจารย์ มาชุมนุม ณ
วัดโคกสิงคารามกลางเมืองสัชนาลัย และท้าวพระยาในชมพูทวีป
คือไทยและลาว .....
หลักฐานเดียวกันยืนยันว่า
พระยากาฬวรรณดิศราชแห่ง
เมืองตักกสิลา มหานคร
เป็นผู้ให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ เมื่อ พ.ศ.
๑๐๐๒ แล้วได้ให้พระยาทั้งหลายขึ้นไปถึงเมืองทวารบุรี
เมืองสันตนาหะ เมืองอเส
และเมืองโกสัมพี
แล้วมานมัสการ
ที่พระพุทธเจ้าตั้งบาตรตำบลแม่ซ้องแม้ว
พระยากาฬวรรณดิศก็ถอยลงมาเมืองสวางคบุรีที่บรรจุพระรากขวัญ
กับพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
... เป็นการแสดงว่า ตักสิลา ก็อยู่ในประเทศไทย คือ
อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน. (อ่านภาพถ่ายเอกสาร
โปรดคลิก๊ก
โดยสรุป พระเสนาบดีทั้งสององค์ ล้วนเกิด ณ
ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งในสมัยพระพุทธกาลเรียกว่า ชมพูทวีปทั้งสิ้น
หลวงปู่มั่นยืนยันว่า
พระพุทธเจ้าเป็นบรรพบุรุษคนไทย
หนังสือ "ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตโต"
ซึ่งเขียนโดย อาจารย์
"มุตโตทัย"
ศิษย์คนหนึ่ีงของหลวงปู่มั่น
ได้เขียนไว้ ในคำปรารภ
หน้า ๙ ว่า หลวงปู่ฯ "...จะเล่าขณะที่ข้าพเจ้า
( "มุตโตทัย")
ได้ถว
ายการนวด หลังจาก
ท่านเทศน์เสร็จแล้ว
นอกจากข้าพเจ้าแล้ว
ก็มีท่านอาจารย์วิริยังค์
สิรินธฺโร
ท่านอาจารย์วัน อุตตโม
ท่านอาจารย์หล้า
เขมปตโต ท่านก็พูด(เล่า)แต่ไม่มาก
แต่สองรูปที่ท่านพูด (เล่า)ให้ฟังมาก
คือ
ข้าพเจ้ากับท่านอาจารย์วิริยังค์...."
เรื่องที่หลวงปู่มั่นเล่าให้อาจารย์มุตโตทัย
หลายเรื่องเกิดจากอุบัติเหต
เช่น เรื่อง
พระพุทธเจ้าเป็นบรรพบุรุษของคนไทย
ก็เกิดจากกระดาษห่อธูป
ที่ผู้ผลิต
เอารูปพระพุทธเจ้า
มาทำเป็นเครื่องหมายการค้า
ซึ่งพระอาจารย์
มุตโตทัยนำไป
ถวายหลวงปู่มั่นดู
ท่านก็เลยเล่าเรื่องพระพุทธเจ้าใหฟัง
"...ซึ่งเป็นการกลับ
ตาลปัตร เพราะเรื่องนี้
ไม่ปรากฎในประวัติศาสตร์
และใน
คัมภีร์พระพุทธศาสนา
จึงทำผู้ฟังงงงวยสับสน
เมื่อเรื่องมีอย่าง
นี้ก็ขอให้อยู่
ในดุลยพินิจ (ขอผู้อ่าน
พิจารณาเองว่าจะ
เชื่อว่า
พระพุทธเจ้าเป็น
อินเดีย
หรือเป็นบรรพบุรุษคนไทย
แต่คงไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นชาวอินเดีย
แล้ว
อพยพก็มาเป็นบรรพบุรุษคนไทย
อย่างแน่นอน -บก.)...."
อาจารย์ มุโตทัยกล่าว
มีคนสงสัยว่า
หลวงปู่มั่นเคยไปอินเดียเพื่อสักการะสังเวชนียสถานทั้งสิ่
หรือไม่
ก็มีการยืนยันว่า
ท่านไม่ไปเพราะไม่เชื่อว่า
พระพุทธเจ้า ประสูติใน
อินเดีย
แต่ท่านเคยไปพม่า ตามที่อาจารย์มุตโตทัยบันทึกไว้
(หน้า ๖๔) ท่าน บอกว่า
ที่พม่าไม่ค่อยมีผู้ปฏิบัติที่จะได้ถึงอริยมรรค
"...คงมี็แต่ตาผ้าขาว
ที่ท่านอยู่จำ
พรรษาด้วยเท่านั้นไ้ด้มรรคที่
๓
ซึ่งไม่เหมือนเมืองไทย
(ผู้ได้อริย มรรค)มีมาไม่ขาดขาย
เกิดจากการปฏิบัติบ้าง
จุติจากสวรรค์มาบ้าง
เพราะไทย คือศูนย์กลางพระพุทธศาสนา
ต่างประเทศที่
ไม่อยู่ในแวดวง พระพุทธศาสนา (ก็) ยิ่ง
ห่างไกลออกไปเพราะอยู่นอกวงจรนอกแวดวง (คงเหมือนกับต้นไม้
เมืองหนาว
นำไปปลูกในเมืองร้อน
ไม่ได้-บก.)" ...หลวงปู่พูดทีเล่นทีจริงว่า
พวกที่ไปสอนพระพุทธศาสนาให้ฝรั่งนั้น
สอนให้เขาเป็นอะไร
จะสอนจนได้
สำเร็จมรรคผลนั้นเป็นไปไม่ได้ดอก
เพราะเป็นพาหิราประเทศ (พาหิรา
หมายถึงภายนอกหรือนอกวง-บก.)
คนไทยเราก็พอสอนได้
โอกาสได้ มรรคผลมี
เพราะอยู่ใน วงศ์พระพุทธ
ศาสนา มีบารมีอันเคยอบรม
สั่งสมมาแล้ว
ท่าหลวงปู่ว่า..."
หลวงพ่อมุตโตทัยกล่าว.
ข้อมูลจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลระบุว่า
พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย
อีเมลจากผู้ศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิ้ลท่านหนึ่งคือ
"คุณพิธิศักดา" (http://www.4shared.com/folder/uduRU8Yj/Outworld.htmll)
ได้ทำการวิเคราะห์และส่งข้อมูลที่ระบุว่า
พระคัมภีร์ไบเบิ้ลระบุว่า
พระพุทธเจ้าองค์แรกในสี่พระองค์
คือ พระพุทธกุกกสันโธ
อยู่ที่จังหวัดตากในประเทศไทย
เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ
จึงนำเสนอเพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาในภายหน้า
การวิเคราะห์อาจมีข้อมูลที่ช *าวพุทธอ่านแล้วขัดต่อความเข้าใจที่มีแต่เดิม
แต่ขอให้อ่านแล้วเก็บเป็นข้อมูลว่า
น่าจะมีความเกี่ยวโยงกันจริง
ตามการวิเคราะห์ของ "คุณพิธิศักดา"
หรือไม่
ที่จริงคณะผู้วิจัยได้ค้นพบความจริงเช่นนี้ไม่น้อยแต่ไม่ได้นำเสนอ
การนำเสนอผลการวิเคราะห์นี้เป็นความคิดเห็นของผู้วิเคราะห์
ไม่ได้แแสดงว่า
คณะผู้วิจัยเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
แต่เป็นการเปิดรับความคิดใหม่ๆ
เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อมูลเพื่อ
"ต่อภาพตัด"
ให้เป็นรูปร่างตามที่เป็นจริง
ขอขอบคุณ
"คุณพิธิศักดา"
เป็นอย่างมาก
ที่นำผลการวิเคราะห์มาแบ่งปันกัน
โปรดคลิ้ก
เพื่ออ่านความคิดเห็นและผลการวิเคราะห์
เอกสารอุรังคนิทานระบุพระพุทธองค์ยืนยันว่า
พระธาตุพนมเป็นที่ประดิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุหน้าอก
ของพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งสามพระองค์
นอกจากเรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว
ยังมีเอกสารพระพุทธศาสนาระบุเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์และบุคคล
สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับภาคคะวันออกเฉียงเหนือเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการสร้างพระอุรังคธาตุที่ภูกำพร้าหรือ
กปนคีรีในจังหวัดนครพนม
อาจารย์กมลทิพย์
ประยูรทอง ได้ส่ง
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับการเสด็จส่วนนี้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตามที่ปรากฏในอุรังคนิทาน
ตำนานพระธาตุพนมภาคพิศดารนี้ ระบุชัดเจนว่า
พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาอยุ่ที่เมืองไทย และชมพูทวีปก็คือเมืองไทย ตำนานนี้พูดถึงประวัติของเมืองต่างๆอย่างละเอียด (นครพนม อุดร ร้อยเอ็ด สกลนคร) เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปและได้พยากรณ์ไว้
โดยได้คัดมาบางตอนไวัดังนี้
"...เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากที่นั้นแล้ว ก็เสด็จไปสู่เมืองหนองหารหลวง (คือหนองหาน สกลนคร - กมลทิพย์) พญาสุวรรณภิงคาร เห็นพระศาสดาเสด็จมาดังนั้น จึงทูลอาราธนานิมนต์เข้าไปฉันที่หอปราสาท ไว้รอยพระบาทในที่นั้นต่อหน้าพญาสุวรรณภิงคาร แล้วทรงทำปาฏิหาริย์ให้เป็นแก้วออกจากพระบาททั้ง 2 พระบาทละลูกโดยลำดับๆ
ซึ่งทรงทำปาฏิหาริย์ให้ออกมาอีกลูกหนึ่ง
เมื่อพญาสุวรรณภิงคารทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็บังเกิดอัศจรรย์ใจยิ่งนักว่าเหตุใดหนอ
แก้วจึงออกมาจากพระบาทพระศาสดาได้นี้
ในขณะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูรามหาราช สถานที่นี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ แก้วจึงออกมาจากที่นี้ 3 ลูก คือ
รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธ โกนาคมน
และพระกัสสป พระพุทธเจ้าทั้ง 3
พระองค์นี้ได้เสด็จไปรับข้าวบิณฑบาตในเมืองศรีโคตบูร (คือนครพนม - กมลทิพย์) แล้วมาฉันที่ภูกำพร้า จึงเสด็จมาประดิษฐานรอยพระบาทไว้
ณ ที่นี้ ส่วนแก้วลูกที่ 4 นั้นคือตถาคตนี้เอง
เมื่อตถาคตได้มาไว้รอยพระบาทรวมไว้ในที่นี้และเข้าสู่นิพพานไปแล้วดังนั้น ในที่นี้จักเป็นที่ว่างเปล่า ทันใดนั้นพญาสุวรรณภิงคารจึงไหว้กราบทูลว่า เมื่อเป็นดังนั้นพระองค์จักประดิษฐานรอยพระบาทไว้ด้วยเหตุอันใด
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูรามหาราช ที่เป็นบ้านเป็นเมืองตั้งพระพุทธศาสนาอยู่นั้น แม้มีเหตุควรไว้
พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไปไว้ด้วยเหตุเป็นที่หวงแหนแห่งหมู่เทวดาและ
พญานาคทั้งหลาย และบ้านเมืองก็จักเสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียรย่อมไว้ยังรอยพระบาทไกลบ้านเมือง พระพุทธศาสนาก็จักตั้งอยู่ก้ำท้ายเมืองและหัวเมือง
เมื่อพระพุทธเจ้า ได้ไว้จิตแก้ว กล่าวคือรอยพระบาทที่ท้ายเมืองทิศใต้นั้น พระพุทธศาสนาจักตั้งรุ่งเรืองในเมืองนั้นก่อน แล้วจึงย้ายห่างมาใต้ตามรอยพระบาท เมื่อไว้จิตแก้วก้ำหัวเมือง พระพุทธศาสนาก็จักตั้งในเมืองนั้น แล้วจึงย้ายห่างไปทางเหนือที่รอยพระบาทอันพระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานไว้นั้น ก็ไป่ตั้งเป็นเมือง คนทั้งหลายจึงจักตั้งเป็นปกติ
ส่วนเมืองหนองหารหลวงนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าได้มาสุมรอยพระบาทไว้สมัยพญาองค์ใดเสวยราชสมบัติ พญาองค์นั้นได้สร้างบุญสมภารมาแล้วตั้งแสนกัลป์ทุกๆ
พระองค์ ถึงเมืองหนองหารน้อย (คือหนองหานกุมภวาปี - กมลทิพย์)ก็ดุจเดียวกัน และทั้งสองเมืองนี้เมื่อตั้งก็เกิดพร้อมกัน ด้วยเหตุที่เสด็จมาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นสิ้นชั่วพญาทั้งสองเมืองนี้ เทวดาและนาคทั้งหลายที่รักษาหนองหารหลวงและหนองหารน้อย ก็จักได้ให้น้ำไหลนองเข้ามาหากัน ท่วมรอยพระบาทและบ้านเมือง
คนทั้งหลายจึงได้แยกย้ายกันไปทั้งบ้านเล็กเรือนน้อยตามริมหนองนั้น
จักได้ไปรับเอาจารีตประเพณีและกิจการบ้านเมืองในราชธานีใหญ่
ที่พระพุทธศาสนาทั้งรุ่งเรืองอยู่นั้น เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จเข้าสู่
นิพพานไปแล้วพระอรหันต์
ทั้งหลายจักได้นำเอา
พระธาตุพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ริมแม่น้ำธนนที
(แม่น้ำโขง)1
ราชธานีบ้านเมืองพระพุทธศาสนาจักรุ่งเรืองไปตามริมแม่น้ำอันนั้น
เมืองฝ่ายเหนือกลับไปตั้งอยู่ฝ่ายใต้
ฝ่ายใต้กลับไปตั้งอยู่ฝ่ายเหนือ
เมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางนั้นประเสริฐมีอานุภาพยิ่งนัก
ท้าวพญาทั้งหลายที่มีบุญ
สมภารจักได้เสยราชสมบัติ
บ้านเมือง
อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ครั้งสิ้นพระพุทธศาสนา
แล้ว
ราชธานีบ้านเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำฝ่ายเหนือ
กลับไปฝ่ายเหนือ
ก็เมืองราชธานีที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จบิณฑบาต
เป็นต้นว่า
เมืองศรีโคตบองก็กลับมาตั้งอยู่ที่เก่า
เมืองราชานีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางนั้นก็กลับมาตั้งอยู่ริมหนองหารดังเก่า
เพื่อรอท่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ครั้งนั้น
ท้าวพญาทั้งหลายที่มีบุญสมภารก็บังเกิดขึ้นตามราชธานีนั้น
ๆ
อันนี้หากเป็นจารีตประเพณีสืบ
ๆ มาแห่งแม่น้ำธนนที
พระพุทธศาสนาก็จักตั้งอยู่แต่ทิศเบื้องเหนือและเบื้องใต้และทิศตะวัน
ตกตะวันออก
ไปตามริมแม่น้ำอยู่เป็นปกติ
ดูรามหาราช
ตถาคตเทศนาศาสนาแลนครนิทาน
ดังกล่าวมาแล้ว
เหตุนั้นจึงได้ว่าไป่มีคนอยู่ในหนองหาร
ถึงแม้ว่ามีคนอยู่ในริมหนองหารทั้งสองนั้น
ท้าวพญาที่บุญสมภารเป็นเอกราชนั้น
จักตั้งอาณานิคมในพระพุทธศาสนาอันใหญ่นั้นก็ไป่มี
เท่ามีก็เป็นแต่ปัจจันตพระพุทธศาสนาตามกาลสมัยนั้นแล"
(โปรดอ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.konmeungbua.com/membership/library/content.php?id=220
http://www.heritage.thaigov.net/religion/pratat/index.html
)
สรุปรายงายฉบับย่อ
ภาษาไทย
ENGLISH
Summary of Finding
|