แนะนำ ประวัติ ผลงาน และทัศนะ |
|
|
เศรษฐาณานิคม: วิวัฒนาการการล่าอาณานิคมจากอิสต์อินเดีย ของอังกฤษในยุคเดิม มาเป็นเทมาเสกของสิงคโปร์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ดร.ทักษิณเก่งจริง หรือมีอะไรเป็นปัจจัยเกื้อหนุน--บุญวาสนา ความสามารถ โอกาส หรือการผู้ขาด? สาระสำคัญที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ: สาระที่อาจต้องใช้อำนาจตามมาตรา 7 เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง วิกฤตค่านิยม--สามเหรียญ สามค่า สาเหตุแห่งความขัดแย้ง: ความเก่งกับความดี ความร่ำรวยกับความพอเพียง และความรักปกป้องตนเองกับพวกพ้องกับความรักปกป้องชาติ คุณลักษณะ ๑๐ ประการสำหรับผู้นำประเทศ ผู้ว่าซีอีโอ-ความสับสนในการบริหารราชการแผ่นดิน ระหว่างการบริหารราชการกับการบริหารราชกิจ
|
ประชาธิปไตยเมืองไทยแบบพรรคเดียวกำลังละม้ายสถานการณ์อดีตเผด็จการประชาธิปไตยของอินโดนีเซีย โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ภาพการชุมนุมหาเสียงของประชาชนที่ถูกเกณฑ์ออกมาชุมนุมเพื่อฟังการปราศรัยหาเสียงของหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ณ สนามหลวง หรือตามหัวเมืองต่างๆ ...ภาพโปสเตอร์หาเสียงของผู้สมัครสมาชิสภาผู้แทนราษฎร์ ...พรรคการเมืองไม้ประดับที่เข้ามาแข่งขันคู่กับพรรคไทยรักไทย...เหล่านี้เป็นภาพที่ละม้ายคล้ายคลึงกับภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนิเซียในช่วงที่ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ครองอำนาจในประเทศอินโดนีเซียยาวนานกว่า ๓๒ ปีจนกระทั่งถูกขับไล่ลงจากอำนาจในที่สุด ในช่วงเวลา ๒๕๓๐-๓๑ ผู้เขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญ UNDP ขององค์การสหประชาชาติในกระทรวงเกษตรของประเทศอินโดนีเซีย จึงได้พบเห็นเหตุการณ์การหาเสียงเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ช่วงที่ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี การหาเสียงของพรรครัฐบาลคือ พรรคโกลก้า ซึ่งเป็นพรรคใหญ่ที่สุด และมีพรรคฝ่ายค้านที่เป็นพรรคเล็กๆ เข้าแข่งขัน เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ข้าราชการ) ต้องสนับสนุนพรรครัฐบาล นัยว่า ต้องเป็นสมาชิกพรรครัฐบาลด้วย มีการจัดชุมนุมสนับสนุนอย่างเปิดเผยตามกระทรวงทบวงกรมต่างๆ จะเห็นทุกคนสวมเสื้อสวมหมวกสีเหลืองอร่ามไปหมด หากใครไม่เข้าร่วมก็อาจถูกลงโทษและไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนเงินเดือน ถือเป็นการครอบงำอย่างเต็มรูป ผลการเลือกตั้งก็ปรากฏว่า พรรครัฐบาลประสบชัยชนะทุกครั้ง แม้จะเรียกตนเองว่า ปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ต่างชาติก็ถือว่า เป็นเผด็จการประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีซูฮาร์โตก็ได้ทำความเจริญให้แก่อินโดนีเซียไม่น้อย และได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ในฐานะที่เคยเป็นวีรบุรุษเอาชนะโจรจีนคอมมิวนิสต์และเคยทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ ไม่มีพฤติการณ์หรือประวัติการขายสมบัติของชาติหรือเอื้อประโยชน์ให้ต่างชาติ เพื่อนบ้านที่ชาวอินโดนีเซียมีความรังเกียจมากที่สุดคือ สิงคโปร์ เพราะทำตัวเหมือนอิสราเอลในอาเซี่ยนดำรงตนในท่ามกลางประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวอินโดนีเซียรู้สึกว่าสิงคโปร์ดูหมิ่นดูแคลนประเทศเพื่อนบ้าน จึงไม่ยอมเปิดโอกาสให้สิงคโปร์เข้ามาหาผลประโยชน์ในอินโดนีเซียได้ ...แต่เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไรผู้เขียนไม่ได้ติดตาม ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ลูกๆ และญาติมิตร ต่างเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ในอินโดนีเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการน้ำมัน โทรคมนาคม ธุรกิจการเงินและกิจการใหญ่น้อยอีกเป็นจำนวนมาก แต่สิทธิสื่อมวลชนก็มีจำกัด หนังสือพิมพ์ที่ไม่เห็นด้วยกับการบริหารของรัฐบาลก็ถูกสั่งปิดหรือดำเนินคดี สถานีโทรทัศน์ถ่ายทอดเฉพาะรายการบันเทิง ข่าว กีฬา ความรู้ และกิจวัตรของประธานาธิบดี สื่อมวลชนต่างประเทศถูกเซนเซอร์ ห้ามจำหน่ายเพราะลงข่าววิพากษ์วิจารณ์ว่า ประธานาธิบดีเอื้อประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง... องค์กรที่ขับเคลื่อนพรรครัฐบาลที่สำคัญยิ่งคือ สมาคมแม่บ้านข้ารัฐการ ที่เรียกว่า ธรรมวนิตา (Dhamma Wanita-Dhamma แปลว่าสมาคม Wanita แปลว่า สตรี) ซึ่งมีมาดามซูฮาร์โต เป็นนายกสมาคม และมีเครือข่ายของสมาคมอยู่ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอและทุกจังหวัด เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรกว่าสองร้อยล้านคน แต่ละจังหวัดจึงมีขนาดใหญ่มาก บางจังหวัดมีประชากรหลายสิบล้านคน แต่ละอำเภอจึงมีขนาดใหญ่กว่าจังหวัดของเมืองไทย ย้อนกลับมาดูเมืองไทย พฤติกรรมของผู้นำประเทศ การมีพรรคใหญ่พรรคเดียวและมีพรรคดอกไม้ประดับจำนวนมาก มีการเกณฑ์ชาวบ้านมาฟังการหาเสียง มีการปล่อยผีไปอยู่ตามบ้านร้างที่ไม่มีตนอยู่แต่กลับมีผู้อยู่อาศัยที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีการซื้อเสียงเลือกตั้ง (ไม่ปรากฏว่า มีการซื้อเสียงในอินโดนีเซีย)... เหล่านี้ล้วนละม้ายคล้ายคลึงเผด็จการประชาธิปไตยในอินโดนีเซียที่เกิดขึ้นเกือบยี่สิบปีหมาแล้ว จะมีความแตกต่างที่เด่นขัดคือผู้นำอินโดนีเซียเคยทำประโยชน์ให้แผ่นดิน แต่ผู้นำไทยที่เป็นพรรครัฐบาลไม่ปรากฏว่า ได้ทำประโยชน์แก่บ้านเมืองอย่างสุจริตใจ ตรงข้ามกลับทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง นำพาชาติไปสู่ความฟุ้งเฟ้อ เปิดประตูบ้านให้ต่างชาติมากอบโกยผลประโยชน์ ในขณะที่พวกตนร่ำรวยขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่ยากจนลง หนี่สาธารณะเพิ่มพูน หนี้ต่อหัวก็เพิ่มขึ้นอย่างหน้าตกใจยิ่ง
หากไม่ต้องการให้เกิดเผด็จประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย ก็ต้องตัดไฟแต่ต้นลม
หาทางป้องกันมิให้ผู้นำพรรคการเมืองที่เห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวมมีอำนาจบริหารบ้านเมืองต่อไป. ปทุมวัน ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๙ ๑๒.๕๐ น.
|
ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ศาสตราจารย์ ระดัีบ ๑๑ (ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ ทางการศึกษา คนที่ ๒ ของประเทศไทย) หนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเป็นผู้พัฒนาระบบการสอนทางไกล "แผนมสธ." (อ่านรายละเอียด) อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด อนุกรรมาธิการอุดมศึกษา วุฒิสภา และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา และวัฒรธรรม วุฒิสภา อดีต: รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองอธํิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช UNESCO/UNDP Expert
(Indonesia, Sri Lanka, Maldives, Laos, Malaysia, Japan, India, Pakistan) k |
E-mail: chaiyong@irmico.com |
Do you agree with the content and opinion expressed in this article?
ท่านเห็นด้วยกับทัศนะในบทความนี้มากน้อยเพียงใด? โปรดติดตามที่นี่!!! เสนอทัศนะทางเศรษฐกิจและการเมือง การศึกษา ธรรมะกับชีวิต ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติและผลงาน การวิจัย พระพุทธอุบัติภูมิ งานสร้างสรรค์ทำให้มสธ. ฯลฯ ทุกสัปดาห์ |
|
|
|
|
|
|
|