แนะนำ ประวัติ ผลงาน และทัศนะ |
|
|
ประชาธิปไตยเมืองไทยแบบพรรคเดียวกำลังละม้ายสถานการณ์อดีตเผด็จ เศรษฐาณานิคม: วิวัฒนาการการล่าอาณานิคมจากอิสต์อินเดีย ของอังกฤษในยุคเดิม มาเป็นเทมาเสกของสิงคโปร์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ดร.ทักษิณเก่งจริง หรือมีอะไรเป็นปัจจัยเกื้อหนุน--บุญวาสนา ความสามารถ โอกาส หรือการผู้ขาด? สาระสำคัญที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ: สาระที่อาจต้องใช้อำนาจตามมาตรา 7 เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง คุณลักษณะ ๑๐ ประการสำหรับผู้นำประเทศ ผู้ว่าซีอีโอ-ความสับสนในการบริหารราชการแผ่นดิน ระหว่างการบริหารราชการกับการบริหารราชกิจ
|
วิกฤตค่านิยมของคนไทย--สาเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างความเก่งกับความดี ความร่ำรวยกับความพอเพียง และความรักตนกับความรักชาติ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์
นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน
พ.ศ.
๒๔๗๕
ยังไม่มีสมัยใด
ที่ชาวไทย
เกิดความแตกแยก
ทางความคิดความเห็นได้ร้าวลึกเท่ากับช่วงเวลานี้...
ช่วงเวลาที่
ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร
หัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ดำรง
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สอง
เป็นความแตกแยกด้านค่านิยมและทัศนะ
ระหว่าง
ความเก่งกับความดี
ระหว่างความร่ำรวย
กับความพอเพียง
ระหว่างความรักปกป้องตนเอง
และพวกพ้องกับ
ความรัก
ความภาคภูมิใจของชาติ
... เป็นสามเหรียญ
สามค่า
สามประการที่สร้างสับสน
ยุ่งเหยิงในด้านความคิด
และการตัดสินใจ
ของประชาชนในการตัดสินใจเลือกผู้นำประเทศ
และกำลังนำประเทศไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในขณะนี้
ประการแรก
ความแตกต่างด้านค่านิยมระหว่างความเก่งกับความดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งของผู้นำประเทศ
เป็นความ
ขัดแย้งที่ชัดเจนที่สุด
ผู้นิยมคนเก่งแสดงทัศนะว่า
ขอให้ได้ผู้นำเก่ง
สามารถทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองก็พอแล้ว
ไม่ต้องมีคุณธรรมอะไรมาก
ผู้นำ
ประเทศในอดีตที่โกงกินก็มีทุกยุคทุกสมัย
ได้ผู้นำดีเสียอีกที่ไม่ค่อยทำอะไร
เชื่องช้า
ประเทศชาติไม่พัฒนาเท่าที่ควร
คนเหล่านี้เชื่อว่า
ผู้นำที่เก่งต้องมีความรู้ความสามารถ
มีการศึกษาสูงได้ปริญญาจากต่างประเทศ
เป็นคนทันสมัย
มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล
กล้าได้กล้าเสีย
ตัดสินใจรวดเร็ว
คิดต่างทำต่าง
แต่งกายด้วยอาภรณ์ราคาแพงจากต่างประเทศ
และมุ่งผลลัพท์คือ
มีความร่ำรวย
ได้ทรัพยากรที่
เป็น
รูปธรรม (โลกียทรัพย์)
จึงดำเนินการทุกอย่าง
เพื่อจะให้ผลตอบแทนการลงทุนที่คุ้มค้ากับ
การลงทุนได้มีผลตอบแทน
กลับในเวลา
รวดเร็ว
และมี
กระแสเงินหมุนเวียนไม่ขาดมือ
เพื่อให้เห็นผลที่เป็นรูปธรรมคือ
ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น
อยู่ดีกินดี
มีบ้านใหญ่โต
และถือว่า
การมีหนี้สิน
คือการมีเครดิตสูง
บ้านเมืองมีตึกระฟ้า
มีถนนหนทางทันสมัย
มีรถยนต์รุ่นใหม่เอี่ยม
มีเครื่องอุปโภคบริโภคสมัยใหม่
ใช้ภาษาต่างประเทศ
ปนภาษาไทยเพื่อบ่งบอกความเป็นผู้มีรสนิยมและมีการศึกษาสูง
ส่วนผู้นิยมคนดีก็เห็นว่า
คนดีจะไม่นำพาประเทศไปสู่ความหายนะ
จะรักษาผลประโยชน์ของชาติและแผ่นดินเท่าชีวิต
และเชื่อว่า
คนเก่ง
อาจไม่คิดจะรักษาผลประโยชน์ศักดิ์ศรี
หรือความภาคภูมิใจของชาติของแผ่นดิน
ผู้ที่ยึดค่านิยมความดี
เชื่อว่า
ผู้นำต้องเป็นคนดี
ซื่อสัตย์
สุจริต
เสียสละความสุขส่วนตนและญาติมิตรเพื่อประเทศชาติ
เทิดทูน
หวงแหนสมบัติและความภาคภูมิใจในชาติ
เห็นแก่
ประโยชน
์ส่วนรวมและประเทศมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
วงศ์ตระกูล
และพวกพ้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีสามัญสำนึก
คือ
รู้ดีรู้ชั่ว
แตกต่าง
จากสัตว์ที่มีสัญชาตญาณ
คือการเอาตัวรอด
รู้เป็นรู้ตาย
แก่งแย่งชิงดีกัน
ผู้นำที่ดีจะจริงใจ
ตรงไปตรงมา
ไม่ปิดบัง
มีเงื่อนงำ
ไม่หมกเม็ด
เชื่อว่า
ทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว
เกรงกลัวและละอายบาป
ไม่กล้าเบียดเบียนผู้อื่น
สังคม
และประเทศชาติ
ด้วยเกรงว่า
ทุกบาททุกสตางค์
ที่ได
้มาโดยมิชอบ
จะกลายเป็นเม็ดกรวดเม็ดทรายสร้างเรือนนรกเผาผลาญตนเองให้มอดไหม้ในมหาอเวจี
ยิ่งเมื่อได้
มาเป็น
ผู้นำประเทศ
ก็ย่อมต้อง ให้
ประเทศชาติมากกว่าประชาชนคนอื่นๆ
จะขวยเขิน
ละอายใจเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อจะได
้ทรัพย์สมบัติ
ิมากล้นกว่าคนอื่น
ชนกลุ่มนี้
เชื่อว่า
ทรัพย์แท้คือ
ความดี
เป็นนามธรรม
(อริยทรัพย์)
ที่ติดตัวข้ามภพข้ามชาติ
ไม่มีใครจะสามารถขับไล่
ผลักใส
และยื้อแย่งไปได้ ประการที่สอง คือ ความแตกต่างระหว่างค่านิยมความร่ำรวยและความเป็นอยู่อย่างพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความชื่นชอบผู้นำประเทศที่ให้คำมั่นสัญญาว่า จะทำให้ร่ำรวย และไม่ชื่นชมสนับสนุนผู้นำที่กระตุ้นการประหยัด อดออม เป็นความขัดแย้งที่ร้ายแรงและมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
ฝ่ายแรก
ถือว่า
ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ
หากมีใครสัญญาว่าจะมาช่วยขจัดความยากจน
เพิ่มรายได้
หลบหลีกหนี้สิน
ก็จะ
ได้รับการ
สนับสนุนให้เป็นผู้นำประเทศ
ผู้ที่นิยมความร่ำรวย
เป็นผลผลิตของระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy)
ที่เน้นการ
พัฒนาทุนนิยม
อย่างเสรีเพื่อผลกำไร
พวกนี้ถือว่า
เงินเป็นพระเจ้า
สามารถดลบันดาลได้ทุกอย่าง
เงินทำให้มีบ้านหรือ
คฤหาสน์ใหญ่โต
ห้อมล้อมด้วยญาติมิตรและบริวาร
เงินสามารถนำไปสู่อำนาจรัฐ
ซึ่งจะเกื้อหนุนให้ร่ำรวยยิ่งๆ
ขึ้น
เมื่อมีผู้ขัดขวาง
ก็จะปกป้องรักษา ทรัพยสมบัติที่หาได้
มุ่งกอบ
โกยผลประโยชน์เข้าตนเองและพวกพ้อง
บางคนหลีกเลี่ยงภาษี
ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
รวยแล้วไม่พอ
อยากรวยมากขึ้น
ๆ ยิ่งมีมาก
ก็ยิ่ง
อยากได้เพิ่มขึ้น
จึงเกิดการต่อสู้ทางความคิด
ทางวาจา
และทางกายกับผู้ที่ไม่เห็นด้วย
สะท้อนออก
มาเป็นโทสะและความเคียดแค้น
คิดว่า
ตนถูกกลั่นแกล้ง
ถูกอิจฉาริษยา
ไม่มีเหตุมีผล
สมาชิกในฝ่ายนี้
ปรารถนาความอยู่ดีกินดี
ใช้ของดี
ราคาแพง
ขับรถราคาคันละสิบล้าน
นาฬิการาคาเรือนละแสนเรือนละล้าน
เข้าสโมสรชั้นสูง
ภูมิใจที่ได้ชื่อว่า
เป็นสมาชิกสังคมระดับ
ไฮโซ
ฝ่ายที่สอง
มุ่งความเป็นอยู่ตามอัตภาพ
ไม่ทะยานอยากในอำนาจ
ยศและตำแหน่ง
ไม่หวังที่จะมีเงินทองมาใช้จ่ายอย่างสุร่ยสุร่าย
แต่มุ่งที่ละชั่ว
ทำดี
และทำใจให้ผ่องใส
ตามแนวทางคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้นิยมความพอดี
เป็นผลผลิต
ของ
เศรษฐกิจแบบพอเพียง
(Sufficiency Economy)
มุ่งดำรงชีวิตเพื่อให้
อยู่เย็นเป็นสุข
และความพออยู่พอกินมากกว่า
อยู่ดีกินดี
เพราะคิดว่า
ข้าวแกงหรือก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชาม
น้ำเปล่าหนึ่งถ้วย
ก็ประคองสังขารให้อยู่ได้
...
บ้านช่องก็พอประมาณ
เงินเดือนมากก็ม
ีหลังใหญ่
มีรายได้
น้อยก็อยู่บ้านแบบไทยๆ
มีเครื่องอุปโภคบริโภคก็เท่าที่จำเป็น
...
ทำมาหากินโดยสุตริต
ไม่เบียดเบียนตนเอง
ญาติมิตรหรือผู้อื่น
...ไม่ก่อ
หนี้สิน
มีเงินก็รู้จักเก็บออม
เพียงเพื่อส่งเสียบุตรธิดาให้ได้ศึกษาเล่าเรียน
เรียกว่า ทำเพื่อลูก
ไม่ได้
้เผือแผ่ไปถึงหลาน
เพราะถือว่า
พ่อแม่ก็คงดูแลลูกๆ
เขาเองได้
จึงไม่เกิดการสั่งสม
เพราะไม่ต้องใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อ
จึงไม่ต้องฉ้อราษฏร์
บังหลวง
คดโกง
เอารัดเอาเปรียบเพื่อนร่วมชาติ
ยินดีเสียภาษีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
และถือว่า...
ต้องชดใช้แผ่นดินเกิด
ที่ฝังรกตนเองและจะต้องฝังร่าง
เมื่อตนตาย
ประการที่สาม
ความขัดแย้งระหว่างความรักและปกป้องประโยชน์ของตนเองและครอบครัว
และพวกพ้อง
กับ
ความรักและปกป้องความภาคภูมิใจของชาติ
ฝ่ายแรก
เห็นว่าในยุคโลกาภิวัฒน์
ดินแดนทั้งโลกเป็นแผ่นเดียวกัน
อัตประโยชน์ส่วนตนสำคัญที่สุด
จึงไม่จำเป็นจะต้องสนใจ
ศักดิ์ศรี
ของชาติ
ไม่สนใจใยดีกับการพิทักษ์
รักษาความภาคภูมิใจของชาติ
เพราะตีค่าเป็นทรัพย์สินไม่ได้
ดังนั้นกลุ่มนี้
จึงเปิดประตูบ้าน
ของตนเอง
ให้ต่างชาติต่างเมือ
เข้ามาหาประโยชน์ในบ้านเมืองของตนได้อย่างเต็มที่เพื่อแลกเปลี่ยนกับโอกาสที่ตนเอง
จะได้ไปทำอย่าง
เดียวกัน
ในบ้านเมืองอื่น
มีความทะยานอยากที่จะเป็นมหาเศรษฐีเงินล้าน
ด้วยค่านิยมเช่นนี้
จึงไม่รู้สึกว่า
เสียหายที่จะนำทรัพย์สมบัติ
ของแผ่นดินไป
ขายให้ต่างชาติ
มองไม่เห็นความหวังร้ายของบางประเทศที่ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายชื่อเสียงของประเทศไทย
ในที่สุดประเทศนั้น
ก็ได้เข้าครอบงำเศรษฐกิจของไทย
เพราะผู้กลุ่มผู้มีอำนาจไม่เห็น
ไม่เข้าใจ
หรือแกล้งไม่เข้าความรัก
ความภาคภูมิใจ
และศักดิ์ของชาติ
จึงไม่แปลกที่จะเห็นพวกเขายิ้มร่าเมื่อถูกวิพากย์วิจารณ์
เพราะมองไม่เห็นว่าตนทำอะไรผิด
หรือเสียหายอะไร
กับค่านิยมต่างชาติของตนเอง
ฝ่ายที่สอง
ถือว่า
เกิดเป็นคนไทยต้องรัก
หวงแหนและปกป้องแผ่นดินไทย
พยายามทำประโยชน์
ทำความดี
รักศักดิ์ศรี
และ
สร้างความภาคภูมิในชาติ
ไม่ดูหมิ่นดูแคลนคนไทยด้วยกันเอง
ไม่เห็นต่างชาติดีกว่าคนไทยด้วยกันเอง
เทิดทูน
รักและหวงแหน
ภูมิปัญญา
ไทย
ส่งเสริม
สนับสนุนวัฒนธรรม
ขนบ
ธรรมเนียม
ประเพณี
ศาสตร์
วิทยาการ
และเทคโนโลยีของไทย
ไม่ปล่อยให้ความ
เป็นไทย
ถูกกลบ
และจางหายไปด้วยกรวด
หิน ดินทราย
คือ
วัฒนธรรม
ศาสตร์
และวิทยาการจากต่างชาติ
รักษาภาษาไทย
ไม่ยอมเป็น
เมืองขึ้น
ของต่างชาติโดยเห็นภาษาอื่นดีกว่า
ภาษาตนเอง
เช่น
พูดหรือออกเสียงไม่ชัด
ไม่มี ร.ล.
พูดไทยคำอังกฤษคำ
แม้แต่หน่วย
ราชการ
ก็ยัง
ใช้เรียกเป็นภาษาอังกฤษ
เช่น โอท็อป
ดีเอสไอ
เอสเอ็มแอล
เอสเอมอี
ฯลฯ
หมู่บ้านจัดสรรค์
สนามกอลฟ์
ก็ใช้ชื่อฝรั่ง
บางเมืองป้านถนน
ชื่อถนนหนทาง
ป้ายประกาศ
ก็เป็นภาษาอังกฤษ
ไม่เกรงใจเจ้าของประเทศ
ซึ่งเกิด
เติบใหญ่
ดำรงชีวิต
และจะฝังรากในแผ่นดินไทย
แต่คนพูดไทยคำอังกฤษคำ
ก็ไม่แน่ว่า
เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในแผ่นดิน
พวกเขาจะอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวไทยส่วนใหญ่หรือไม่ ปทุมวัน
๒๖
กุมภาพันธ์
๒๕๔๙ เวลา
๒๑.๓๐ น.
|
ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ศาสตราจารย์ ระดัีบ ๑๑ (ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ ทางการศึกษา คนที่ ๒ ของประเทศไทย) หนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเป็นผู้พัฒนาระบบการสอนทางไกล "แผนมสธ." (อ่านรายละเอียด) อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
อนุกรรมาธิการอุดมศึกษา วุฒิสภา และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา และวัฒรธรรม วุฒิสภา อดีต: รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองอธํิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช UNESCO/UNDP Expert (Indonesia, Sri Lanka, Maldives, Laos, Malaysia, Japan, India, Pakistan)
|
E-mail: |
|
โปรดติดตามที่นี่!!! เสนอทัศนะทางเศรษฐกิจและการเมือง การศึกษา ธรรมะกับชีวิต ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติและผลงาน การวิจัย พระพุทธอุบัติภูมิ งานสร้างสรรค์ทำให้มสธ. ฯลฯ ทุกสัปดาห์ |